วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

เทศกาลกินเจ

เทศกาลกินเจ หรือ กินแจ (จีน九皇勝會 Jiǔ huán Shèng huìฮกเกี้ยน: กิ้วอ๋องเซ่งโห่ย; อังกฤษNine Emperor Gods Festival หรือ จีน九皇大帝誕ฮกเกี้ยน: กิ้วอ๋องไต่เต้ตั้น ) หรือบางแห่งเรียกว่า ประเพณีถือศีลกินผัก เป็นประเพณีแบบลัทธิเต๋ารวม 9 วัน กำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีนมานานแล้ว โดยมีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน ปัจจุบัน เทศกาลกินเจจัดขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์มาเลเซีย และไทย ตลอดจนหมู่เกาะรีออในอินโดนีเซียและอาจมีในบางประเทศเอชีย เช่น ภูฏาน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งการกินเจในเดือน 9 นี้ เชื่อกันว่าน่าจะเกิดขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2170 ตรงกับสมัยอาณาจักรอยุธยา
ประวัติ
ประเพณีถือศีลกินเจหรือกินเจซึ่งเป็นพิธียันตรกรรมบูชาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยอาศัยพระแม่แห่งดวงดาวมารีจี ( 摩利支 ) ในแบบของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน แต่ในทางลัทธิเต๋าเรียกว่า เต้าโบ้หงวนกุนหรือเต้าโบ้เทียนจุน ( 斗姆元君,斗姆天尊 ) ในภาษาฮกเกี้ยนเป็นศูนย์กลางสมมติของพิธีศักดิ์สิทธิ์นี้ มักอิงประวัติผูกติดอยู่กับฝ่ายตำนานเทพแห่งดาวนพเคราะห์มากกว่า ซึ่งเป็นศาสตร์แห่งลัทธิเต๋า ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่เมืองจีน นับจากนั้นเป็นต้นมาเมื่อพระพุทธศาสนาเจริญขึ้น จึงปรากฏตำนานความเชื่อที่ผูกโยงกับพระพุทธเจ้า 9 พระองค์และพระโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ เรียกว่า กิ้วอ้วงฮุดโจ้ว ( 九皇佛祖 ) ในภาษาจีนแต้จิ๋ว โดยคติความเชื่อในประเพณีของชาวจีน โดยเฉพาะลัทธิขงจื้อซึ่งเน้นในเรื่องบรรพบุรุษและความกตัญญู บรรดาบูรพกษัตริย์ที่เคยอุทิศตนเพื่อให้ประชาชนมีความเจริญโดยใช้หลักเมตตาธรรมก็จะเป็นบุคคลผู้ได้รับการสรรเสริญจากประชาชน ตามตำนานสามารถรวบรวมได้ 9 พระองค์ ซึ่งอยู่ในยุคสมัยต่างๆกัน ทั้ง 9 พระองค์รวมเรียกว่าพระราชาธิราช 9 พระองค์ ในภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า : กิ๋วอ๋องไต่เต่ , ( 九皇大帝 ) ซึ่งชาวจีนเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นธรรมชาติและดำเนินไปตามวิถีแห่งสวรรค์ อาศัยตามความเชื่อในลัทธิเต๋า จึงส่งผลให้เกิดการนับถือดวงวิญญาณที่สถิตอยู่ในสรวงสวรรค์ พระเจ้าแผ่นดินทั้งเก้าพระองค์เมื่ออยู่ในโลกมนุษย์ได้ประกอบกรรมดีมากมาย เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วจึงได้จุติเป็นเทพเจ้าประจำดาวนพเคราะห์ ทำหน้าที่คุ้มครองมวลหมู่ประชาราษฎร์ให้บังเกิดความร่มเย็นสืบไป
รูปอาหารเจ



วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

วันไหว้พระจันทร์




เทศกาลไหว้พระจันทร์ หรือ เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง (อังกฤษMoon Festival[1], Mid-Autumn Festivalจีนตัวเต็ม: 中秋節; จีนตัวย่อ: 中秋节; พินอิน: zhōngqiū jié; เวียดนาม: Tết Trung Thu) เป็นเทศกาลตามวัฒนธรรมจีนที่มีขึ้นในกลางฤดูใบไม้ร่วง เพื่อเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยว จะมีขึ้นในคืนวันเพ็ญเดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ (กันยายนตามปฏิทินสากล)
ในเทศกาลนี้ ชาวจีนจะเฉลิมฉลองด้วยการไหว้ดวงจันทร์ในเวลากลางคืน ในบางประเทศ เช่น ฮ่องกงไต้หวันสิงคโปร์ หรือเวียดนาม[2] จะจัดเป็นประเพณีใหญ่ มีการเฉลิมฉลองด้วยโคมไฟสีแดง[3] เป็นสีสันยามค่ำคืน หรือบางแห่งอาจมีการเชิดมังกร[4] ทั้งนี้จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่น
นอกจากนี้แล้ว ยังมีขนมชนิดหนึ่ง เรียกว่า "ขนมไหว้พระจันทร์" (月饼) ที่มีสันฐานกลมคล้ายขนมเค้ก ทำจากแป้ง มีไส้ต่าง ๆ เป็นธัญพืช ใช้เซ่นไหว้และรับประทานกันจนเป็นเอกลักษณ์สำหรับเทศกาลนี้[1]
ที่มาของเทศกาลนี้ เกี่ยวกับเทพปกรณัมจีนที่เล่าถึง เทพธิดาแห่งดวงจันทร์ ที่ชื่อ "ฉางเอ๋อ" (嫦娥) ซึ่งเป็นหญิงคนรักของโฮวอี้ นักยิงธนูแห่งสวรรค์ ที่ใช้ธนูยิงดวงอาทิตย์ตกลงไปถึง 9 ดวงจากทั้งหมด 10 ดวง ซึ่งเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนบัญชาสวรรค์ จึงโดนลงทัณฑ์ให้ไปใช้ัชีวิตธรรมดาเช่นมนุษย์ทั่วไปบนโลกมนุษย์กับฉางเอ๋อ แต่แล้วโฮวอี้ก็ถูกคนสนิททรยศฆ่าตาย ส่วนฉางเอ๋อนางได้ดื่มน้ำอมฤตเพื่อที่จะมีชีวิตอมตะ แล้วเหาะกลับไปยังดวงจันทร์อีกครั้งตามลำพังด้วยความเศร้าสร้อย ในยุคของฮั่นเหวินตี้ (漢文帝) แห่งราชวงศ์ฮั่น ได้ทรงพระสุบินว่า พระองค์ลอยขึ้นไปเที่ยวชมพระราชวังบนดวงจันทร์ และได้พบกับฉางเอ๋อกำลังร่ายรำอยู่อย่างงดงาม ในสุบินนั้น พระองค์ทรงเพลิดเพลินและเกษมสำราญเป็นอย่างยิ่ง กระทั่งเมื่อตื่นพระบรรทมและโปรดให้สุบินนั้นเป็นความจริง จึงมีรับสั่งให้นางสนมแต่งตัวและร่ายรำเลียนแบบเทพธิดาฉางเอ๋อที่พระองค์ได้พบเจอมา จนแพร่หลายไปสู่ราษฎรและเป็นประเพณีมา ซึ่งในอดีต ชาวจีนโดยเฉพาะหญิงสา่วจะสวดขอพรจากฉางเอ๋อเพื่อที่ขอให้มีความเยาว์วัยและงดงามตลอดไปดุจดั่งนาง[4]
นอกจากนี้แล้ว ยังมีอีกตำนานหนึ่งที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ขณะที่ชาวฮั่นถูกปกครองอย่างกดขี่จากชาวมองโกล (ราชวงศ์หยวน) ได้มีการก่อกบฏขึ้นของชาวฮั่น ด้วยการแอบส่งสาสน์บอกต่อ ๆ กันในไส้ขนม ความว่า คืนนี้เมื่อเวลายาม 3 ให้ทุกบ้านจัดการสังหารทหารมองโกลให้หมด อันเป็นที่มาของขนมไหว้พระจันทร์[1]

ขนมไหว้พระจันทร์