วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วันวาเลนไทน์



            วันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก Valentine's Day เรามีประวัติวันวาเลนไทน์ สัญลักษณ์วันวาเลนไทน์ ของขวัญวาเลนไทน์ ธรรมเนียมถือปฏิบัติ มาฝาก  
          วันวาเลนไทน์ คงเป็นวันที่ใครหลาย ๆ คนรอคอย... โดยเฉพาะหนุ่มสาวที่ตื่นขึ้นมา พร้อมรอยยิ้ม เพื่อเตรียมของขวัญ คำหวาน และข้อความพิเศษ ๆ มอบให้กับคนรักอย่างแน่นอน..  และในโอกาสวาเลนไทน์วันแห่งความรักวันนี้ กระปุกดอทคอมก็ไม่พลาดหยิบยกเรื่องราวของวันวาเลนไทน์มาฝากกันอีกเช่นเคย มาดูกันซิว่า วันวาเลนไทน์เกิดขึ้นได้อย่างไร และชาวตะวันตกทำอะไรกันบ้างในวันสำคัญสำหรับชาวคริสต์วันนี้
           สำหรับประวัติวันวาเลนไทน์นั้น หลาย ๆ คนคงสงสัยว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร เหตุเป็นเพราะวันที่ 14 กุมภาพันธ์นั้น เป็นวันเสียชีวิตของนักบุญวาเลนไทน์ หรือเซนต์วาเลนไทน์ นักบุญแห่งความรักนั่นเอง นักบุญวาเลนไทน์ เป็นผู้ริเริ่มการจัดงานแต่งงานในยุคที่ไม่นิยมให้แต่งงานกัน เหตุเพราะในช่วงนั้น โรม ต้องประสบกับสงคราม จักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ต้องการเกณฑ์คนไปรบ แต่มีบุคคลจำนวนมากที่มีครอบครัว มีภรรยา มีคนรัก ต่างไม่อยากจะทิ้งครอบครัวไป ทำให้ จักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ตัดสินใจให้ยกเลิกการแต่งงานและการหมั้นทั้งหมดของชาวโรมันในยุคนั้นไปหมด อย่างสิ้นเชิง

           แต่นักบุญวาเลนไทน์กลับสวนกระแสของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ชักชวนคู่รักมาแต่งงานหลายต่อหลายคู่ จนโดนจับตัวไปขังเอาไว้ และในคุกที่คุมขังนักบุญวาเลนไทน์นั้น เขาได้พบรักกับสาวตาบอดนางหนึ่ง เมื่อโดนจับได้ นักบุญวาเลนไทน์จึงถูกนำตัวไปประหารในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ วันดังกล่าวจึงกลายมาเป็น วันวาเลนไทน์ วันที่ผู้คนจะรำลึกถึงนักบุญผู้อุทิศตนให้ความรักนั่นเอง

วันวาเลนไทน์ ประวัติวันวาเลนไทน์

สัญลักษณ์ของวันวาเลนไทน์

          สัญลักษณ์วันวาเลนไทน์คือ เทพเจ้าคิวปิด ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความรักดั้งเดิมของชาวโรมัน ร่างกายเป็นเด็กทารกติดปีก กำลังโก่งคันศรทองเล็งไปยังหัวใจของผู้คน ตามตำนานของกรีกและโรมันพูดถึงคิวปิดว่า เป็นบุตรของมาร์ (เทพเจ้าของสงคราม) และ วีนัส (เทพเจ้าแห่งความรักและความงาม)

          ตำนานความรักของ เทพเจ้าคิวปิด นั้น ในอดีต เทพเจ้าวีนัสอิจฉา "ไซกี" ธิดาวัยกำลังแรกรุ่นของกษัตริย์องค์หนึ่ง ที่สำคัญคือไซกีสวยกว่าเทพเจ้าวีนัสมาก นางเลยส่งเทพเจ้าคิวปิดไปหาไซกี เพื่อบันดาลให้ไซกีมีความรักกับบุรุษเพศ แต่เทพเจ้าคิวปิดกลับหลงรักไซกีและพามาที่วัง และลอบมาหาในเวลากลางคืนเพื่อไม่ให้ไซกีรู้ว่าตนเองเป็นใคร แต่มีคนยุให้ไซกีแอบดูตอนเทพเจ้าคิวปิดนอนหลับ แต่ด้วยความตื่นเต้นของไซกีที่เห็นเทพเจ้าคิวปิดเป็นหนุ่มรูปงาม เลยเผลอทำน้ำมันตะเกียงหกใส่เทพเจ้าคิวปิด เมื่อเทพเจ้าคิวปิดรู้สึกตัวตื่นขึ้นก็โกรธมากที่นางขัดคำสั่ง จึงทิ้งนางไป

          เมื่อโดนทิ้ง ไซกีก็ออกตามหาเทพเจ้าคิวปิด ซึ่งตลอดเวลาไซกีถูกเทพเจ้าวีนัสกลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา จนเทพเจ้าคิวปิดเห็นใจต้องเข้ามาช่วย เทพเจ้าจูปิเตอร์เห็นใจ จึงช่วยให้ทั้งสองได้ครองรักกัน
วันวาเลนไทน์ ประวัติวันวาเลนไทน์

ธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันในวันวาเลนไทน์
 

          - หลายร้อยปีก่อนในประเทศอังกฤษ เด็ก ๆ จะแต่งตัวลอกเลียนแบบผู้ใหญ่ในวันวาเลนไทน์ แล้วร้องเพลงจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่ง ในเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจะกล่าวว่า " Good morning to you, Valentine ; Curl your locks as I do mine --- Two before and three behind. Good morning to you, Valentine." 

          - ในประเทศเวลส์ ผู้ที่มีความรักและชื่นชมในงานช้อนไม้แกะสลัก จะทำการแกะสลักช้อนและมอบให้เป็นของขวัญในวันวาเลนไทน์ โดยจะสลักรูปหัวใจ และลูกกุญแจไว้บนช้อนนั้น ซึ่งมีความหมายว่า "คุณได้ไขหัวใจของฉัน" (You unlock my heart) 

          - เด็กหนุ่มสาวจะทำการเขียนชื่อคนที่ตัวเองชอบ แล้วหย่อนไว้ในอ่างหรือชาม แล้วหยิบขึ้นมาหนึ่งชื่อ เพื่อดูว่าใครจะเป็นคู่ของตัวเองในวันวาเลนไทน์ หลังจากนั้นก็จะเอาชื่อที่หยิบได้นี้มาติดไว้ที่แขนเสื้อเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ การทำเช่นนี้มีความหมายว่า คนคนนั้นต้องการบอกให้คนทั่วไปรู้ได้ง่าย ๆ ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร

          - ในบางประเทศ ผู้หญิงจะได้รับของขวัญเป็นเครื่องแต่งกายจากผู้ชาย แล้วถ้าผู้หญิงคนนั้นเก็บของขวัญชิ้นนี้เอาไว้นั่นหมายถึงหล่อนจะแต่งงานกับเขา
วันวาเลนไทน์ ประวัติวันวาเลนไทน์

          - บางคนมีความเชื่อว่า ถ้าผู้หญิงคนใดเห็นนกโรบินบินผ่านเหนือศีรษะตนเองในวันวาเลนไทน์ นั่นหมายถึงหล่อนจะได้แต่งงานกับกะลาสีเรือ หรือถ้าผู้หญิงคนใดเห็นนกกระจอก หล่อนก็จะได้แต่งงานกับชายยากจนและจะมีความสุข และถ้าผู้หญิงคนไหนเห็นนก Goldfinch หมายถึงหล่อนจะได้แต่งงานกับมหาเศรษฐี

          - ในบางประเทศจะมีการทำเก้าอี้แห่งรักขึ้นมา ซึ่งจะเป็นเก้าอี้ที่มีขนาดกว้าง ในครั้งแรกที่มีการทำเก้าอี้นี้ขึ้นมาก็เพื่อจะให้ผู้หญิงที่แต่งตัวในชุดราตรีนั่ง ต่อมาเก้าอี้แห่งรักนี้ได้ทำขึ้นเป็นสองส่วนและมักจะทำเป็นรูปตัวเอส (S) ซึ่งการทำเก้าอี้ทรงนี้จะทำให้คู่รักสามารถนั่งด้วยกันได้ แต่จะไม่ใกล้ชิดกันจนเกินไป

          - บางธรรมเนียมในบางแห่งของโลก เด็กหนุ่มสาวจะนึกถึงชื่อของคนที่ตัวเองอยากจะแต่งงานด้วยประมาณห้าถึงหกชื่อ ในขณะที่ปอกเปลือกผลแอปเปิลนั้นให้เป็นขดนั้น ก็ให้เอ่ยชื่อของคนที่นึกถึงออกมาจนกว่าจะปอกเปลือกแอปเปิลได้หมดผล และเชื่อกันว่า คนที่จะได้แต่งงานด้วยนั้นคือคนที่เอ่ยชื่อถึงในขณะที่ปอกเปลือกของแอปเปิล ได้หมดพอดี

          - ในบางประเทศมีความเชื่อว่า ถ้าหากผ่าผลแอปเปิลออกมาเป็นสองซีก แล้วให้นับเมล็ดข้างในดู แล้วก็จะสามารถรู้จำนวนบุตรในอนาคตได้ 


วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วันมาฆบูชา

 

          วันมาฆบูชา 2560 ประวัติวันมาฆบูชา ความหมายวันมาฆบูชา ความสำคัญของวันมาฆบูชา วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560

          วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง และได้เวียนมาบรรจบอีกครั้ง โดย วันมาฆบูชา 2560 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ วันนี้กระปุกดอทคอม จึงมี ประวัติวันมาฆบูชา ความสำคัญของวันมาฆบูชา มาฝากค่ะ

ความหมายของวันมาฆบูชา

          คำว่า "มาฆะ" นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า "มาฆบุรณมี" หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3

การกำหนดวันมาฆบูชา
          การกำหนดวันมาฆบูชาตามปฏิทินจันทรคติของไทยนั้นจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม

ความสำคัญวันมาฆบูชาและประวัติวันมาฆบูชา
          ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์"แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"
          ทั้งนี้ในวันมาฆบูชาได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อม ๆ กันถึง 4 ประการ อันได้แก่
          1. วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
          2. มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

          3. พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6

          4. พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

          และเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งคำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" นี้ มีความหมายตามการแยกศัพท์คือ

          จาตุร แปลว่า 4
          องค์ แปลว่า ส่วน
          สันนิบาต แปลว่า ประชุม

          ดังนั้น "จาตุรงคสันนิบาต" จึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ 4" นั่นเอง
          ทั้งนี้วันมาฆบูชาถือว่าเป็นวันพระธรรม ขณะที่วันวิสาขบูชาถือว่าเป็นวันพระพุทธ ส่วนวันอาสาฬหบูชา เป็นวันพระสงฆ์
ประวัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย

          พิธีทำบุญวันมาฆบูชานี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีมาในสมัยใด อย่างไรก็ตามในหนังสือ "พระราชพิธีสิบสองเดือน" อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ว่า

          ประเทศไทยเริ่มกำหนดพิธีปฏิบัติในวันมาฆบูชาเป็นครั้งแรกในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งมีการประกอบพิธีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2394 ในพระบรมมหาราชวังก่อน โดยมีพิธีพระราชกุศลในเวลาเช้า นมัสการพระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศราชวรวิหารและวัดราชประดิษฐ์จำนวน 30 รูป ฉันภัตตาหารในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
          เมื่อถึงเวลาค่ำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออก ทรงจุดธูปเทียนนมัสการ พระสงฆ์ทำวัตรเย็นและสวดคาถาโอวาทปาฏิโมกข์ เมื่อสวดจบทรงจุดเทียน 1,250 เล่ม รอบพระอุโบสถ มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนาโอวาทปาฏิโมกข์ 1 กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลี และภาษาไทย ส่วนเครื่องกัณฑ์ประกอบด้วยจีวรเนื้อดี 1 ผืน เงิน 3 ตำลึงและขนมต่าง ๆ เมื่อเทศนาจบ พระสงฆ์ 30 รูป สวดรับ

          ในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปี แต่มีการยกเว้นบ้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากบางครั้งตรงกับช่วงเสด็จประพาสก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชาในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีกแห่ง นอกเหนือจากภายในพระบรมมหาราชวัง
          ต่อมาการประกอบพิธีมาฆบูชาได้แพร่หลายออกไปภายนอกพระบรมมหาราชวัง และประกอบพิธีกันทั่วราชอาณาจักร ทางรัฐบาลจึงประกาศให้เป็นวันหยุดทางราชการด้วย เพื่อให้ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพได้ไปวัด เพื่อทำบุญกุศลและประกอบกิจกรรมทางศาสนา

          นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยประกาศให้วันมาฆบูชา เป็นวันกตัญญูแห่งชาติอีกด้วย

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติในวันมาฆบูชา

          หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติคือ "โอวาทปาฏิโมกข์" ซึ่งเป็นหลักคำสอนสำคัญอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อไปสู่ความหลุดพ้น หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้

หลักการ 3 คือหลักคำสอนที่ควรปฏิบัติ ได้แก่
          1. การไม่ทำบาปทั้งปวง คือ การลด ละ เลิก ทำบาปทั้งปวง อันได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางแห่งความชั่ว 10 ประการที่เป็นความชั่วทางกาย (การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม) ทางวาจา (การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ) และทางใจ (การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม)

          2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ การทำความดีทุกอย่างตาม กุศลกรรมบถ 10 ทั้งความดีทางกาย (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ประพฤติผิดในกาม) ความดีทางวาจา (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อ) และความดีทางใจ (ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น มีความเมตตาปรารถนาดี มีความเข้าใจถูกต้องตามทำนองคลองธรรม)

          3. การทำจิตใจให้ผ่องใส คือ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หลุดจากนิวรณ์ที่คอยขัดขวางจิตใจไม่ให้เข้าถึงความสงบ ได้แก่ ความพอใจในกาม, ความพยาบาท, ความหดหู่ท้อแท้, ความฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย

          ซึ่งทั้ง 3 หลักการข้างต้น สามารถสรุปใจความสำคัญได้ว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์" นั่นเอง

อุดมการณ์ 4 ได้แก่

          1. ความอดทน อดกลั้น คือ ไม่ทำบาปทั้งกาย วาจา ใจ
          2. ความไม่เบียดเบียน คือ งดเว้นจากการทำร้าย หรือเบียดเบียนผู้อื่น
          3. ความสงบ ได้แก่ การปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
          4. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา


วิธีการ 6 ได้แก่

          1. ไม่ว่าร้าย คือ ไม่กล่าวให้ร้าย โจมตีใคร
          2. ไม่ทำร้าย คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
          3. สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ เคารพระเบียบวินัย กฎกติกา รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม
          4. รู้จักประมาณ คือ รู้จักความพอดีในการบริโภค รวมทั้งการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
          5. อยู่ในสถานที่สงัด คือ อยู่ในสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
          6. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ คือ การฝึกหัดชำระจิตใจให้สงบ มีประสิทธิภาพที่ดี


วันมาฆบูชา


กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา

          การปฏิบัติตนสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันมาฆบูชาคือ คือ ในตอนเช้า ควรไปทำบุญตักบาตร ไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนา หรือจัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหาร ช่วงบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา เจริญสมาธิภาวนา เมื่อถึงตอนค่ำ นำดอกไม้ ธูปเทียนไปเวียนเทียน 3 รอบที่พระอุโบสถ โดยการเวียนเทียนนั้นจะเวียนขวา จำนวน 3 รอบ และช่วงเวลาที่เดินอยู่นั้นให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนควรบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ตามสถานที่ต่าง ๆ และรักษาศีล สำหรับตามบ้านเรือน สถานที่ราชการ จะมีการประดับธงชาติ ธงธรรมจักร เพื่อระลึกถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 

ข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันมาฆบูชา

          กิจกรรมเกี่ยวกับครอบครัว
          กิจกรรมที่ครอบครัวควรทำในวันมาฆบูชา อย่างเช่น การทำความสะอาดบ้าน จัดแต่งที่บูชาประจำบ้าน ชักชวนครอบครัวไปทำบุญตักบาตร ฟังศีล ฟังธรรม บำเพ็ญกุศล ปฏิบัติธรรม รวมทั้งควรศึกษาหลักธรรมคำสั่งสอน และความสำคัญของวันมาฆบูชาด้วย

          กิจกรรมเกี่ยวกับสถานศึกษา

          ในสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอีกแห่ง โดยภายในสถานศึกษาควรมีการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันมาฆบูชา เช่น จัดนิทรรศการให้ความรู้ ประกวดเรียงความ ตอบปัญหาธรรมะ บรรยายธรรม หรือร่วมกันทำบุญ ตักบาตร เวียนเทียน บำเพ็ญกุศล อีกทั้งประกาศเกียรติคุณนักเรียนผู้ทำประโยชน์ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

          กิจกรรมเกี่ยวกับสถานที่ทำงาน

          ควรประชาสัมพันธ์ในที่ทำงาน และจัดให้มีการบรรยายธรรม หรือร่วมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน ร่วมทำบุญ บำเพ็ญกุศลร่วมกัน

          กิจกรรมเกี่ยวกับสังคม

          ภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็น วัด มูลนิธิ สมาคม สื่อมวลชน สนามบิน สถานีรถไฟ ฯลฯ ควรช่วยกันประชาสัมพันธ์ความสำคัญของวันมาฆบูชา อาจเป็นการพิมพ์เอกสารให้ความรู้ จัดให้มีการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน เช่น ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม ช่วยกันรณรงค์ให้เลิกอบายมุข แต่รณรงค์ให้ช่วยกันทำประโยชน์ต่อสังคมแทน อาจช่วยกันปลูกต้นไม้ ทำความสะอาดที่สาธารณะ ฯลฯ

 ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดกิจกรรมในวันมาฆบูชา

          พุทธศาสนิกชนจะมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับความสำคัญของวันมาฆบูชา รวมทั้งหลักธรรมต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความตระหนักต่อความสำคัญของพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะชาวพุทธ และยังเป็นการช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไป

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

วันตรุษจีน



ตรุษจีน
          วันตรุษจีน 2560 หรือ ตรุษจีน 2017 ตรงกับวันเสาร์ที่ 28 มกราคม และวันนี้เรามีบทความวันตรุษจีน 2560 มาฝาก ทั้ง ประวัติวันตรุษจีน วันไหว้ตรุษจีน 2560 วันเที่ยวตรุษจีน และวันจ่าย 2560 ตรงกับวันที่เท่าไร

          ตรุษจีน เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เพราะชาวจีนถือว่า วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ดังนั้นชาวจีนจึงให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้เป็นอย่างยิ่ง และมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะมีพิธีเฉลิมฉลองแตกต่างกันไป สำหรับ วันตรุษจีน 2560 ตรงกับวันเสาร์ที่ 28 มกราคม
ประวัติวันตรุษจีน
          สำหรับที่มาของวันตรุษจีนนั้น เชื่อกันว่าประเพณีนี้มีมานานกว่าสี่พันปีแล้ว จัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เดิมทีไม่ได้เรียกว่าเทศกาลตรุษจีน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามยุคสมัย นั่นคือเมื่อ 2,100 ปีก่อนคริสต์ศักราชจะเรียกว่า "ซุ่ย" ซึ่งมีความหมายถึงการโคจรครบหนึ่งรอบของดาวจูปิเตอร์ จนกระทั่งต่อมาในยุค 1,000 กว่าปีก่อนคริสต์ศักราช เทศกาลตรุษจีนจะถูกเรียกว่า "เหนียน" หมายถึงการเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์นั่นเอง

          นอกจากนี้ วันตรุษจีน ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันชุงเจ๋" ซึ่งหมายถึงเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ หรือขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ เพราะช่วงก่อนตรุษจีนนั้นตรงกับฤดูหนาว ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ชาวจีนจึงสามารถทำนา ทำสวน ได้อีกครั้งหลังจากผ่านพ้นฤดูหนาวมานั่นเอง

          ส่วนการกำหนดวันตรุษจีนนั้น ตามประเพณีเทศกาลตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย ตามปฏิทินจันทรคติของจีน และถือว่าคืนวันที่ 30 เดือน 12 เป็นวันส่งท้ายปีเก่า ส่วนวันที่ 1 เดือน 1 คือวันชิวอิก หมายถึงวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ
          การเตรียมงานเพื่อการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่หนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน (คล้ายกับวันคริสต์มาสของประเทศตะวันตก) โดยผู้คนจะเริ่มซื้อข้าวของต่าง ๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้านเรือน และเตรียมทำความสะอาดครั้งใหญ่ ตั้งแต่ชั้นบนลงชั้นล่าง เนื่องจากมีความเชื่อว่าจะเป็นการปัดกวาดสิ่งที่ไม่ดีออกไป ภายในบ้าน ทั้งประตู หน้าต่าง จะประดับประดาไปด้วยสีแดง และกระดาษสีแดงที่มีคำอวยพรให้อายุยืน ร่ำรวย อยู่ดีมีสุข ฯลฯ

          จากนั้นครอบครัวจะร่วมรับประทานอาหารที่ล้วนแต่มีความหมายมงคลทั้งสิ้น เช่น กุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรืองและความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งความโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาหร่าย จะนำความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร หลังจากทานอาหารค่ำแล้ว ทุกคนในครอบครัวจะนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง
ตรุษจีน

สัญลักษณ์ของ วันตรุษจีน
          นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของ วันตรุษจีน คือ "อั่งเปา" ซึ่งมีความหมายว่า "กระเป๋าแดง" หรือจะใช้คำว่า "แต๊ะเอีย" ซึ่งมีความหมายว่า "ผูกเอว" จากที่คนสมัยก่อนชอบร้อยเงินเป็นพวงผูกไว้ที่เอว โดยการให้อั่งเปานี้ คู่แต่งงานจะให้เงินเด็ก ๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคนในครอบครัว จะออกมาจากบ้านเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ในหมู่ญาติ และเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป) 
วันตรุษจีน 2560
          สำหรับวันตรุษจีน 2560 ตรงกับวันเสาร์ที่ 28 มกราคม ซึ่งวันตรุษจีนไม่ถือเป็นวันหยุดราชการนะ แต่ตามบริษัทห้างร้านของคนจีนอาจจะอนุญาตให้ลูกจ้างได้หยุดพักผ่อนอยู่กับบ้าน ถือเป็นวันหยุดพักผ่อนพิเศษสำหรับคนจีน ซึ่งก็แล้วแต่ว่าบริษัทไหน หรือร้านไหนจะกำหนดให้หยุดได้กี่วัน

วันจ่ายตรุษจีน 2560 

          ตามธรรมเนียมของคนจีนแล้ว วันจ่าย หรือ ตื่อเส็ก จะเป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปหาซื้ออาหาร ผลไม้ เครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ มาเตรียมพร้อมไว้ ก่อนที่ร้านค้าต่าง ๆ จะหยุดยาวในช่วงวันตรุษจีน ซึ่งจะตรงกับวันก่อนวันสิ้นปี โดยในปี 2560 วันจ่ายตรุษจีนคือวันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม

 วันไหว้ตรุษจีน 2560

          วันไหว้ของเทศกาลตรุษจีนก็คือ "วันสิ้นปี" ซึ่งจะเป็นวันที่มีการไหว้เทพเจ้าต่าง ๆ ด้วยอาหาร ผลไม้ เครื่องเซ่นไหว้ ฯลฯ ตามธรรมเนียมปฏิบัติ โดยในปี 2560 วันไหว้ตรุษจีน คือ วันศุกร์ที่ 27 มกราคม

วันเที่ยวตรุษจีน 2560

          วันเที่ยวสำหรับชาวจีนก็คือ "วันปีใหม่" หรือ "วันตรุษจีน" ซึ่งวันเที่ยวตรุษจีน 2560 คือ วันเสาร์ที่ 28 มกราคมนั่นเอง และเป็น "วันถือ" ด้วย โดยในวันนี้ชาวจีนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวยงาม พากันออกไปท่องเที่ยว และไปไหว้ขอพรญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เคารพรัก ชาวจีนจะถือว่าวันนี้เป็นวันแห่งสิริมงคล และงดทำบาปทั้งปวง

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560

วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช


วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
         วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตรงกับวันที่ 17 มกราคมของทุกปี ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย
 
            หลายคนคงเคยอ่านหนังสือหรือเคยเรียนวิชาที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของไทยกันมาบ้างแล้ว และก็คงทราบกันดีว่าเมืองไทยมีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถที่ได้ทรงริเริ่มประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นมา นั่นก็คือ พ่อขุนรามคำแหง แล้วทราบไหมคะว่า ประเทศไทยได้กำหนดวันพ่อขุนรามคำแหงขึ้นด้วย ซึ่งตรงกับวันที่ 17 มกราคมของทุกปี เพื่อจัดกิจกรรมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่มีต่อประชาชนชาวไทย วันนี้ เราจะมาดูประวัติความเป็นมาของวันพ่อขุนรามคำแหงกันค่ะ
พ่อขุนรามคำแหง

พระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 

            พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย หรืออีกพระนามที่ไม่ค่อยมีใครทราบ คือ พ่อขุนรามราช ในขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ 19 พรรษา ได้เสด็จเข้าร่วมกองทัพกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ผู้เป็นบิดา ไปป้องกันเมืองตากและได้สู้รบกับขุนสามชน จนได้รับชัยชนะ ด้วยความกล้าหาญในครั้งนั้นทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชทานนามให้ว่า รามคำแหง ที่มีความหมายว่า รามผู้กล้าหาญเข้มแข็งในการรบ ภายหลังเมื่อประมาณ พ.ศ. 1822 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็ได้ขึ้นครองกรุงสุโขทัยสืบต่อมา 

            ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ถือว่าเป็นช่วงสมัยที่สุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด เพราะตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคม ที่สามารถค้าขายติดต่อกับบ้านเมืองต่าง ๆ ได้โดยรอบ และยังยอมเป็นเมืองผ่านทางการค้า โดยอนุญาตให้พ่อค้าเอาสินค้าไปค้าขายได้โดยไม่เก็บภาษี ทำให้มีคนมาค้าขายที่สุโขทัยเพิ่มขึ้น 
 
            นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงรวบรวมแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนเป็นราชอาณาจักรไทยที่กว้างใหญ่ไพศาลกว่าทุกยุคสมัยที่ผ่านมา พระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติของพระองค์ท่านล้วนแต่เป็นการวางรากฐานแห่งความเจริญไว้ให้แก่ประเทศชาติและปวงชนชาวไทยทุกคนสืบทอดต่อกันมาจวบจนถึงวันนี้เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 700 ปี


พ่อขุนรามคำแหง

            นอกจากพระราชกรณียกิจดูแลปกป้องบ้านเมือง การค้า และการรวบรวมแคว้นต่าง ๆ แล้ว พระองค์ยังทรงมีพระปรีชาสามารถทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นมา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1826 ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของมรดกอันล้ำค่าที่คนไทยทุกคนรู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นเอกลักษณ์ และความสละสลวย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านในหลาย ๆ ด้าน ดังเช่นที่ได้กล่าวถึง ปวงชนชาวไทยทุกคนจึงได้พร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ท่านเป็นมหาราช พระองค์แรกของชาติไทย

            ทั้งนี้ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน จึงได้มีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ท่านไว้เพื่อสักการะ ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ จังหวัดสุโขทัย โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ประกอบพิธีอัญเชิญดวงพระวิญญาณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จากศาลพระแม่ย่าไปสถิต ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ แล้วทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528
 
            ถัดมาประมาณสามปีคือ ปี พ.ศ. 2531 สำนักงานสภาจังหวัดสุโขทัย ได้มีหนังสือเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ขอให้มีการกำหนดวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราชขึ้น โดยถือเอาวันที่ 17 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงประกอบพระราชพิธีและทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เป็น วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช


            ต่อมาได้มีการพิจารณาทบทวนเรื่องการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์โดยคำนึงถึงความเหมาะสม และความถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งทางคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ได้เสนอความคิดเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในวันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2376 จึงได้เสนอให้คณะรัฐมนตรี ลงมติอนุมัติการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ โดยให้วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 เป็นวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งถือว่าเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ซึ่งถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกนั่นเอง
 
พ่อขุนรามคำแหง
ภาพจาก Wasu Watcharadachaphong / Shutterstock, Inc.

กิจกรรมวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

            ในวันที่ 17 มกราคมของทุกปี หลาย ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหงมหาราชขึ้น เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน อาทิ

มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
            สำหรับมหาวิทยาลัยรามคำแหงนั้น เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ได้อัญเชิญพระนามพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มาตั้งเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย โดยในวันที่ 17 มกราคมของทุกปี ทางมหาวิทยาลัยจะมีการจัดให้มีพิธีบวงสรวง และพิธีสักการะพระบรมรูปของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งประดิษฐาน ณ บริเวณ ลานพ่อขุน ซึ่งถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางของมหาวิทยาลัยนั่นเอง

จังหวัดสุโขทัย 


            ที่จังหวัดสุโขทัยจะมีการจัดงานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นประจำทุกปี โดยในงานจะประกอบไปด้วย พิธีบวงสรวงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช, ขบวนแห่สักการะพ่อขุนรามคำแหงมหาราช, การแสดงศิลปะพื้นบ้าน, พิธีสวดสรภัญญะ ฯลฯ ทั้งนี้งานจะจัดขึ้นที่บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม โดยจะมีโชว์การแสดงช้างศึกและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวอีกด้วย

            ทั้งหมดนี้คือความเป็นมาของวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระราชบิดาแห่งอักษรไทย ผู้ทรงสร้างเอกลักษณ์ให้คนไทยได้มีตัวอักษรใช้มาจนจวบทุกวันนี้

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560

คำขวัญวันครู

คำขวัญวันครู

คำขวัญวันครู 2560 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 

        "ชาติพัฒนา ด้วยครูดี มีคุณภาพ  ศิษย์ซาบซึ้ง ในพระคุณครู"

คำขวัญวันครู 2559 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 

         "อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดี มีคุณภาพ"

คำขวัญวันครู 2558 เจ้าของคำขวัญ :  เด็กหญิงอนุสรา ชื่นบาล

         "เกียรติครูยิ่งใหญ่ น้อมใจบูชา เลิศล้ำคุณค่า ศรัทธาพระคุณ"

คำขวัญวันครู 2557 เจ้าของคำขวัญ :  นายธีธัช บรรณะทอง
         "เทิดพระเกียรติทั่วหล้า กตัญญูบูชา แม่และครูแห่งแผ่นดิน"  
คำขวัญวันครู 2556 เจ้าของคำขวัญ : นายสะอาด สีหภาค
         "แปดสิบพรรษา พระราชินี ราษฏร์รัฐภักดี ครูศรีแผ่นดิน"
คำขวัญวันครู 2555 เจ้าของคำขวัญ : นางสาวขนิษฐา อุตรโส
         "บูชาครูแห่งแผ่นดิน จอมปราชญ์ศาสตร์ศิลป์ สยามินทร์ ภูมิพล"

คำขวัญวันครู 2554 เจ้าของคำขวัญ : นางกนกอร ภูนาสูง
         "เทิดพระเกียรติทั่วหล้า บูชาครูของแผ่นดิน ภูมินทร์ภูมิพล"

คำขวัญวันครู 2553 เจ้าของคำขวัญ : นายกันทา วงศ์จันทร์ทิพย์
         "น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที"
คำขวัญวันครู 2552 เจ้าของคำขวัญ  นางนฤมล จันทะรัตน์

    
      "ครูสร้างคนดี เป็นศรีแผ่นดิน ทั่วถิ่นศรัทธา บูชาคุณครู"

คำขวัญวันครู 2551 เจ้าของคำขวัญ : นางพงษ์จันทร์ สุขเกษม
          "ครูของแผ่นดิน เลิศศิลป์ศาสตร์ มหาราชภูมิพล ชนบูชา" 
คำขวัญวันครู 2550 เจ้าของคำขวัญ : นางสาวศันสนีย์ แสนโรจน์
          "สิบหกมกรา เทิดทูน พ่อแผ่นดิน ภูมินทร์บรมครู"  
คำขวัญวันครู 2549 เจ้าของคำขวัญ : นางพรรณา คงสง
          "ครูดีเป็นศรีแผ่นดิน ศิษย์ทั่วถิ่นศรัทธาบูชาครู"
คำขวัญวันครู 2548 เจ้าของคำขวัญ : นายประจักษ์ หัวใจเพชร
          "ครูสร้างคนสร้างชาติด้วยศาสตร์ศิลป์ ทั่วแผ่นดินศรัทธาบูชาครู"
คำขวัญวันครู 2547 เจ้าของคำขวัญ : นางสาวพรทิพย์ ศุภกา
          "ครู คือ พลังสร้างแผ่นดิน ไทยทุกถิ่นน้อมบูชาพระคุณครู"
 
คำขวัญวันครู 2546 เจ้าของคำขวัญ : นางสมปอง สายจันทร์
          "ครูให้ความรู้ ควบคู่จรรยา ปวงชนทั่วหล้า น้อมบูชาครู" 

คำขวัญวันครู 2545 เจ้าของคำขวัญ : นายสุเทพ วิเศษศักดิ์ศรี
          "สร้างคนสร้างชาติ สร้างศาสตร์ก้าวหน้า สร้างภูมิปัญญา ขอบูชาครู"

คำขวัญวันครู 2544 เจ้าของคำขวัญ : นางสาวสุทิสา ธนบดีไพบูลย์
          "พระคุณครูยิ่งใหญ่ สร้างไทยให้พัฒนา ขอบูชาคุณครู
คำขวัญวันครู 2543 เจ้าของคำขวัญ : นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล และนายประจักษ์ เสตเตมิ
          "ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี"
          "สร้างชาติ สร้างคน ผลงานของครู ทั่วโลกรับรู้ เชิดชูบูชา"

คำขวัญวันครู 2542 เจ้าของคำขวัญ :  นายปัญจะ เกสรทอง และนางเซียมเกียว แซ่เล้า
          "ครูเป็นผู้เบิกทางแห่งปัญญา"
          "ครูชี้ทางสร้างสรรค์ภูมิปัญญา ชนเชิดบูชาพระคุณครู" 

คำขวัญวันครู 2541 เจ้าของคำขวัญ : นายชุมพล ศิลปอาชา
          "ครูเป็นผู้นำทางปัญญา ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี" 

คำขวัญวันครู 2540 เจ้าของคำขวัญ : นายสุขวิช รังสิตพล
          "ครูสร้างศิษย์ ด้วยมิตรและน้ำใจ ครูคือผู้ให้ เพื่อเยาวชนไทยได้พัฒนา" 

คำขวัญวันครู 2539 เจ้าของคำขวัญ : นายสุขวิช รังสิตพล
          "ครู เป็นหัวใจของการพัฒนาคน" 

คำขวัญวันครู 2538 เจ้าของคำขวัญ : นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
          "อุทิศเวลา รักษาคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี" 
คำขวัญวันครู 2537 เจ้าของคำขวัญ : นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
          "ครู คือ ผู้มีคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี" 
คำขวัญวันครู 2536 เจ้าของคำขวัญ : นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
          "ครู คือ นักพัฒนา และรักษาสิ่งแวดล้อม"

คำขวัญวันครู 2535 เจ้าของคำขวัญ : ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
          "ครู คือ ผู้ให้ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้นำเยาวชนของชาติ 
คำขวัญวันครู 2534 เจ้าของคำขวัญ : พลเอก มานะ รัตนโกเศศ 
     
          "ครู คือ ผู้สร้างสรรค์ให้เยาวชนของชาติเป็นพลเมืองดี"
 

คำขวัญวันครู 2533 เจ้าของคำขวัญ : พลเอก มานะ รัตนโกเศศ
          "ครู คือ ผู้อุทิศทั้งชีวิตและจิตใจ ส่งเสริมเพิ่มพูนให้เยาวชนเป็นคนดี 
คำขวัญวันครู 2532 เจ้าของคำขวัญ : พลเอก มานะ รัตนโกเศศ
          "ครูดี มีจรรยา มุ่งค้นคว้าเพื่อพัฒนาเด็กไทย" 

คำขวัญวันครู 2531 เจ้าของคำขวัญ : นายมารุต บุนนาค
          "ครูเป็นผู้สร้าง ครูเป็นผู้ให้ความหวัง ครูเป็นพลังให้ศิษย์เป็นคนดี"  
คำขวัญวันครู 2530 เจ้าของคำขวัญ : นายมารุต บุนนาค
          "ครูดีมีวินัย และคุณธรรม ย่อมน้อมให้เยาวชนเป็นพลเมืองดี"

คำขวัญวันครู 2529 เจ้าของคำขวัญ : นายชวน หลีกภัย
          "ครู คือ ผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าต่อการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้าและอยู่รอดปลอดภัย"   

คำขวัญวันครู 2528 เจ้าของคำขวัญ : นายชวน หลีกภัย
          "การที่บุคคลหนึ่งจะดำรงชีวิตได้อย่างดีนั้นมิใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะผู้เป็นครูมีแนวปฏิบัติที่ยากยิ่ง เป็นสิ่งน่าเห็นใจที่ครูจะต้องปฏิบัติโดยยึดถือความดี มีคุณธรรมระดับสูงกว่าบุคคลทั่วไป แต่ก็น่าภาคภูมิใจ เมื่อครูผู้ปฏิบัตินั้น ได้รับความเชื่อถือ ศรัทธา และยอมรับจากสังคมมากขึ้น จึงขอให้เพื่อนครูทุกท่านปฏิบัติตนด้วยความเสียสละ อดทน ยึดถือความดี มีคุณธรรมเพื่อจะบังเกิดผลดีแก่ตนเอง ชุมชน และประเทศชาติสืบไป" 

คำขวัญวันครู 2527 เจ้าของคำขวัญ : นายชวน หลีกภัย
          "ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2527 ผมขอให้เพื่อนครูที่รักทั้งหลายและสมาชิกคุรุสภาทุกท่าน ประสบความสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สัมฤทธิผลอันพึงปรารถนาตลอด"   
คำขวัญวันครู 2526 เจ้าของคำขวัญ : ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
          "อนาคตของเด็กไทย อยู่ที่ความเอาใจใส่ของครูทุกคน"
คำขวัญวันครู 2525 เจ้าของคำขวัญ : ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์ 
          "ครูนั้น สังคมยกย่องนับถือว่าเป็นปูชนียบุคคล ทั้งนี้เพราะว่าครูเป็นผู้เสียสละยึดมั่นในคุณงามความดี และความถูกต้อง จีงขอให้รักษาความดีนี้ตลอดไป"  
คำขวัญวันครู 2524 เจ้าของคำขวัญ : ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต
          "ครูที่แท้ต้องทำแต่ความดี ประพฤติปฏิบัติในระเบียบแบบแผน อันสมควรกับเกียรติภูมิของตน มีความรักในลูกศิษย์และอบรมปัญญาให้ลูกศิษย์มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านวิชาการความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และทางด้านพลานามัย"   

คำขวัญวันครู 2522 เจ้าของคำขวัญ : ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
          "เป็นครูต้องยึดถือคุณธรรมของครู" 
คำขวัญวันครู 2521 เจ้าของคำขวัญ : นายแพทย์บุญสม มาร์ติน
          "การให้การศึกษาแก่คนในชาติ เป็นกระบวนการที่ต้องทำต่อเนื่องกันไปตลอดชีวิต ดังนั้นจึงต้องระดมสรรพกำลังหลาย ๆ ด้านมาช่วยเหลือการศึกษา ปัจจัยที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ ครูซึ่งจะเป็นผู้ผลักดันให้ทุกอย่างไปสู่เป้าหมายได้ ฉะนั้นท่านทั้งหลายคงตระหนักถึงหน้าที่อันมีเกียรตินี้ ในโอกาสที่วันสำคัญอย่างยิ่งของครูได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง ข้าพเจ้าในนามของกระทรวงศึกษาธิการและประธานอำนวยการคุรุสภา ขอส่งความปรารถนาดีและความระลึกถึงเพื่อนครูทุกท่าน ทั้งนอกและในราชการขอจงประสบแต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกัน และขอได้โปรดตระหนักถึงหน้าที่ ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของครูที่ดีสืบไป"

การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันครู
 
          เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของครู ตลอดจนจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู และบทบาทหน้าที่ของศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครู ตลอดจนการจัดกิจรรมได้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ


วันครู 2557 ประวัติวันครูแห่งชาติ

กิจกรรมวันครู

          การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลาในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

          1. กิจกรรมทางศาสนา

          2. พิธีรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตนการกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

          3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น 
          
          ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วย บุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอ 

          รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยคุรุสภา คณะกรรมการการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์จำนวน 1,000 รูป

          หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

          จากนั้นประธานจัดงาน วันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบ 1 นาที เพื่อรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสในประจำการ ผู้นำร่วมประชุมกล่าวปฏิญาณ
กลอนวันครู

           กลอนวันครู กลอนสั้น ๆ วันครูทั้งหมด คลิกเลยค่ะ

คำปฏิญาณตนของครู

          ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู

          ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ

          ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

          จากนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคล แล้วต่อด้วยนายกรัฐมนตรี มอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการ สุดท้ายกล่าวปราศรัยกับคณะครูที่มาประชุม

          "ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู  ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ  ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม"

มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู           1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

          2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น

          3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้

          4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู

          5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา

          6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษยชาติ

          7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน

          8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ

          9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา

          10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน 

คำขวัญวันครู 2560 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 

        "ชาติพัฒนา ด้วยครูดี มีคุณภาพ  ศิษย์ซาบซึ้ง ในพระคุณครู"

คำขวัญวันครู 2559 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 

         "อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดี มีคุณภาพ"

คำขวัญวันครู 2558 เจ้าของคำขวัญ :  เด็กหญิงอนุสรา ชื่นบาล

         "เกียรติครูยิ่งใหญ่ น้อมใจบูชา เลิศล้ำคุณค่า ศรัทธาพระคุณ"

คำขวัญวันครู 2557 เจ้าของคำขวัญ :  นายธีธัช บรรณะทอง
         "เทิดพระเกียรติทั่วหล้า กตัญญูบูชา แม่และครูแห่งแผ่นดิน"  
คำขวัญวันครู 2556 เจ้าของคำขวัญ : นายสะอาด สีหภาค
         "แปดสิบพรรษา พระราชินี ราษฏร์รัฐภักดี ครูศรีแผ่นดิน"
คำขวัญวันครู 2555 เจ้าของคำขวัญ : นางสาวขนิษฐา อุตรโส
         "บูชาครูแห่งแผ่นดิน จอมปราชญ์ศาสตร์ศิลป์ สยามินทร์ ภูมิพล"

คำขวัญวันครู 2554 เจ้าของคำขวัญ : นางกนกอร ภูนาสูง
         "เทิดพระเกียรติทั่วหล้า บูชาครูของแผ่นดิน ภูมินทร์ภูมิพล"

คำขวัญวันครู 2553 เจ้าของคำขวัญ : นายกันทา วงศ์จันทร์ทิพย์
         "น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที"
คำขวัญวันครู 2552 เจ้าของคำขวัญ  นางนฤมล จันทะรัตน์

    
      "ครูสร้างคนดี เป็นศรีแผ่นดิน ทั่วถิ่นศรัทธา บูชาคุณครู"

คำขวัญวันครู 2551 เจ้าของคำขวัญ : นางพงษ์จันทร์ สุขเกษม
          "ครูของแผ่นดิน เลิศศิลป์ศาสตร์ มหาราชภูมิพล ชนบูชา" 
คำขวัญวันครู 2550 เจ้าของคำขวัญ : นางสาวศันสนีย์ แสนโรจน์
          "สิบหกมกรา เทิดทูน พ่อแผ่นดิน ภูมินทร์บรมครู"  
คำขวัญวันครู 2549 เจ้าของคำขวัญ : นางพรรณา คงสง
          "ครูดีเป็นศรีแผ่นดิน ศิษย์ทั่วถิ่นศรัทธาบูชาครู"
คำขวัญวันครู 2548 เจ้าของคำขวัญ : นายประจักษ์ หัวใจเพชร
          "ครูสร้างคนสร้างชาติด้วยศาสตร์ศิลป์ ทั่วแผ่นดินศรัทธาบูชาครู"
คำขวัญวันครู 2547 เจ้าของคำขวัญ : นางสาวพรทิพย์ ศุภกา
          "ครู คือ พลังสร้างแผ่นดิน ไทยทุกถิ่นน้อมบูชาพระคุณครู"
 
คำขวัญวันครู 2546 เจ้าของคำขวัญ : นางสมปอง สายจันทร์
          "ครูให้ความรู้ ควบคู่จรรยา ปวงชนทั่วหล้า น้อมบูชาครู" 

คำขวัญวันครู 2545 เจ้าของคำขวัญ : นายสุเทพ วิเศษศักดิ์ศรี
          "สร้างคนสร้างชาติ สร้างศาสตร์ก้าวหน้า สร้างภูมิปัญญา ขอบูชาครู"

คำขวัญวันครู 2544 เจ้าของคำขวัญ : นางสาวสุทิสา ธนบดีไพบูลย์
          "พระคุณครูยิ่งใหญ่ สร้างไทยให้พัฒนา ขอบูชาคุณครู
คำขวัญวันครู 2543 เจ้าของคำขวัญ : นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล และนายประจักษ์ เสตเตมิ
          "ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี"
          "สร้างชาติ สร้างคน ผลงานของครู ทั่วโลกรับรู้ เชิดชูบูชา"

คำขวัญวันครู 2542 เจ้าของคำขวัญ :  นายปัญจะ เกสรทอง และนางเซียมเกียว แซ่เล้า
          "ครูเป็นผู้เบิกทางแห่งปัญญา"
          "ครูชี้ทางสร้างสรรค์ภูมิปัญญา ชนเชิดบูชาพระคุณครู" 

คำขวัญวันครู 2541 เจ้าของคำขวัญ : นายชุมพล ศิลปอาชา
          "ครูเป็นผู้นำทางปัญญา ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี" 

คำขวัญวันครู 2540 เจ้าของคำขวัญ : นายสุขวิช รังสิตพล
          "ครูสร้างศิษย์ ด้วยมิตรและน้ำใจ ครูคือผู้ให้ เพื่อเยาวชนไทยได้พัฒนา" 

คำขวัญวันครู 2539 เจ้าของคำขวัญ : นายสุขวิช รังสิตพล
          "ครู เป็นหัวใจของการพัฒนาคน" 

คำขวัญวันครู 2538 เจ้าของคำขวัญ : นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
          "อุทิศเวลา รักษาคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี" 
คำขวัญวันครู 2537 เจ้าของคำขวัญ : นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
          "ครู คือ ผู้มีคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี" 
คำขวัญวันครู 2536 เจ้าของคำขวัญ : นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
          "ครู คือ นักพัฒนา และรักษาสิ่งแวดล้อม"

คำขวัญวันครู 2535 เจ้าของคำขวัญ : ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
          "ครู คือ ผู้ให้ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้นำเยาวชนของชาติ 
คำขวัญวันครู 2534 เจ้าของคำขวัญ : พลเอก มานะ รัตนโกเศศ 
     
          "ครู คือ ผู้สร้างสรรค์ให้เยาวชนของชาติเป็นพลเมืองดี"
 

คำขวัญวันครู 2533 เจ้าของคำขวัญ : พลเอก มานะ รัตนโกเศศ
          "ครู คือ ผู้อุทิศทั้งชีวิตและจิตใจ ส่งเสริมเพิ่มพูนให้เยาวชนเป็นคนดี 
คำขวัญวันครู 2532 เจ้าของคำขวัญ : พลเอก มานะ รัตนโกเศศ
          "ครูดี มีจรรยา มุ่งค้นคว้าเพื่อพัฒนาเด็กไทย" 

คำขวัญวันครู 2531 เจ้าของคำขวัญ : นายมารุต บุนนาค
          "ครูเป็นผู้สร้าง ครูเป็นผู้ให้ความหวัง ครูเป็นพลังให้ศิษย์เป็นคนดี"  
คำขวัญวันครู 2530 เจ้าของคำขวัญ : นายมารุต บุนนาค
          "ครูดีมีวินัย และคุณธรรม ย่อมน้อมให้เยาวชนเป็นพลเมืองดี"

คำขวัญวันครู 2529 เจ้าของคำขวัญ : นายชวน หลีกภัย
          "ครู คือ ผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าต่อการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้าและอยู่รอดปลอดภัย"   

คำขวัญวันครู 2528 เจ้าของคำขวัญ : นายชวน หลีกภัย
          "การที่บุคคลหนึ่งจะดำรงชีวิตได้อย่างดีนั้นมิใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะผู้เป็นครูมีแนวปฏิบัติที่ยากยิ่ง เป็นสิ่งน่าเห็นใจที่ครูจะต้องปฏิบัติโดยยึดถือความดี มีคุณธรรมระดับสูงกว่าบุคคลทั่วไป แต่ก็น่าภาคภูมิใจ เมื่อครูผู้ปฏิบัตินั้น ได้รับความเชื่อถือ ศรัทธา และยอมรับจากสังคมมากขึ้น จึงขอให้เพื่อนครูทุกท่านปฏิบัติตนด้วยความเสียสละ อดทน ยึดถือความดี มีคุณธรรมเพื่อจะบังเกิดผลดีแก่ตนเอง ชุมชน และประเทศชาติสืบไป" 

คำขวัญวันครู 2527 เจ้าของคำขวัญ : นายชวน หลีกภัย
          "ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2527 ผมขอให้เพื่อนครูที่รักทั้งหลายและสมาชิกคุรุสภาทุกท่าน ประสบความสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สัมฤทธิผลอันพึงปรารถนาตลอด"   
คำขวัญวันครู 2526 เจ้าของคำขวัญ : ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
          "อนาคตของเด็กไทย อยู่ที่ความเอาใจใส่ของครูทุกคน"
คำขวัญวันครู 2525 เจ้าของคำขวัญ : ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์ 
          "ครูนั้น สังคมยกย่องนับถือว่าเป็นปูชนียบุคคล ทั้งนี้เพราะว่าครูเป็นผู้เสียสละยึดมั่นในคุณงามความดี และความถูกต้อง จีงขอให้รักษาความดีนี้ตลอดไป"  
คำขวัญวันครู 2524 เจ้าของคำขวัญ : ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต
          "ครูที่แท้ต้องทำแต่ความดี ประพฤติปฏิบัติในระเบียบแบบแผน อันสมควรกับเกียรติภูมิของตน มีความรักในลูกศิษย์และอบรมปัญญาให้ลูกศิษย์มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านวิชาการความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และทางด้านพลานามัย"   

คำขวัญวันครู 2522 เจ้าของคำขวัญ : ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
          "เป็นครูต้องยึดถือคุณธรรมของครู" 
คำขวัญวันครู 2521 เจ้าของคำขวัญ : นายแพทย์บุญสม มาร์ติน
          "การให้การศึกษาแก่คนในชาติ เป็นกระบวนการที่ต้องทำต่อเนื่องกันไปตลอดชีวิต ดังนั้นจึงต้องระดมสรรพกำลังหลาย ๆ ด้านมาช่วยเหลือการศึกษา ปัจจัยที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ ครูซึ่งจะเป็นผู้ผลักดันให้ทุกอย่างไปสู่เป้าหมายได้ ฉะนั้นท่านทั้งหลายคงตระหนักถึงหน้าที่อันมีเกียรตินี้ ในโอกาสที่วันสำคัญอย่างยิ่งของครูได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง ข้าพเจ้าในนามของกระทรวงศึกษาธิการและประธานอำนวยการคุรุสภา ขอส่งความปรารถนาดีและความระลึกถึงเพื่อนครูทุกท่าน ทั้งนอกและในราชการขอจงประสบแต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกัน และขอได้โปรดตระหนักถึงหน้าที่ ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของครูที่ดีสืบไป"

การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันครู
 
          เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของครู ตลอดจนจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู และบทบาทหน้าที่ของศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครู ตลอดจนการจัดกิจรรมได้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ


วันครู 2557 ประวัติวันครูแห่งชาติ

กิจกรรมวันครู

          การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลาในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

          1. กิจกรรมทางศาสนา

          2. พิธีรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตนการกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

          3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น 
          
          ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วย บุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอ 

          รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยคุรุสภา คณะกรรมการการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์จำนวน 1,000 รูป

          หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

          จากนั้นประธานจัดงาน วันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบ 1 นาที เพื่อรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสในประจำการ ผู้นำร่วมประชุมกล่าวปฏิญาณ
กลอนวันครู

           กลอนวันครู กลอนสั้น ๆ วันครูทั้งหมด คลิกเลยค่ะ

คำปฏิญาณตนของครู

          ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู

          ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ

          ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

          จากนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคล แล้วต่อด้วยนายกรัฐมนตรี มอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการ สุดท้ายกล่าวปราศรัยกับคณะครูที่มาประชุม

          "ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู  ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ  ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม"

มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู           1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

          2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น

          3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้

          4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู

          5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา

          6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษยชาติ

          7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน

          8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ

          9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา

          10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน