วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

เดือนสิบ บุญข้าวสาก

เดือนสิบ บุญข้าวสาก
บุญเดือนสิบ บุญข้าวสาก หมายถึงบุญที่ให้พระเณรทั้งวัด จับสลากเพื่อจะรับปัจจัยไทยทาน ตลอดจนสำรับกับข้าว ที่ญาติโยมนำมาถวายและบุญนี้จะทำกันในวันเพ็ญเดือนสิบ จึงเรียกชื่ออีกอย่างว่า "บุญเดือนสิบ"
ห่อข้าวน้อย
มูลเหตุที่ทำ 
          เพื่อจะทำให้ข้าวในนาที่ปักดำไปนั้นงอกงาม และได้ผลบริบูรณ์ และเป็นการอุทิศส่วนกุศลถึงญาติผู้ล่วงลับ ไปแล้ว
ความเป็นมาของสลากภัตตทาน ในสมัยหนึ่งพุทธองค์ได้เสด็จไปกรุงพาราณสี ในคราวนี้นบุรุษเข็ญใจ พาภรรยาประกอบอาชีพตัดฟืนขายเป็นนิตย์เสมอมา เขาเป็นคนเลื่อมใสพระพุทธศาสนายิ่งนัก วันหนึ่งเขาได้ปรึกษากับภรรยาว่า "เรายากจนในปัจจุบันนี้เพราะไม่เคยทำบุญ-ให้ทาน รักษาศีลแต่ละบรรพกาลเลย ดังนั้นจึงควรที่เราจักได้ทำบุญกุศล อันจักเป็นที่พึ่งของตนในสัมปรายภพ-ชาติหน้า"ภรรยาได้ฟังดังนี้แล้ว ก็พลอยเห็นดีด้วย จึงในวันหนึ่งเขาทั้งสองได้พากันเข้าป่าเก็บผักหักฟืนมาขายได้ทรัพย์แล้วได้นำไปจ่ายเป็นค่าหม้อข้าว 1 ใบ หม้อแกง ใบ อ้อย ลำ กล้วย ลูก นำมาจัดแจงลงในสำรับเรียบร้อยแล้วนำออกไปยังวัด เพื่อถวายเป็นสลากภัตตทานพร้อมอุบาสกอุบาสิกาเหล่าอื่น สามีภรรยาจับสลากถูกพระภิกษุรูปหนึ่งแล้วมีใจยินดี จึงน้อมภัตตาหารของตนเข้าไปถวายเสร็จแล้วได้หลั่งน้ำทักษิโณทกให้ตกลงเหนือแผ่นปฐพีแล้วตั้งความปราถนา "ด้วยผลทานทั้งนี้ข้าพเจ้าเกิดในปรภพใดๆ ขึ้นชื่อว่าความยากจนเข็นใจไร้ทรัพย์เหมือนดังในชาตินี้ โปรดอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าทั้งสองเลย ขอให้ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นผู้มั่งคั่งสมบูรณ์เพียบพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติและมีฤทธิ์เดชมาก ในปรภพภายภาคหน้าโน้นเถิดดังนี้
          ครั้นสองสามีภรรยานั้นอยู่พอสมควรแก่อายุขัยแล้วก็ดับชีพวายชนม์ไปตามสภาพของสังขาร ด้วยอานิสงฆ์แห่งสลากภัตตทาน จึงได้ไปเกิดเป็นเทพบุตร เทพธิดาในดาวดึงส์สวรรค์ เสวยสมบัติทิพย์อยู่ในวิมานทองอันผุดผ่องโสภาตระการยิ่งนัก พร้อมพรั่งไปด้วยแสนสุรางค์นางเทพอัปสรห้อมล้อมเป็นบริวาร มีนามบรรหารว่า "สลากภัตตเทพบุตรเทพธิดา"
          กาล กตวา ครั้นจุติเลื่อนจากสวรรค์แล้วก็ได้ลงมาเกิดเป็นกษัตริย์ในเมืองพาราณสี มีพระนามว่าพระเจ้าสัทธาดิส เสวยราชสมบัติอยู่ 84,000 ปี ครั้นเบื่อหน่ายจึงเสด็จออกบรรพชา ครั้นสูญสิ้นชีวาลงแล้วก็ได้ไปเกิดในพรหมโลก และต่อมาก็ได้มาอุบัติเป็นพระตถาคตของเรานั่นเอง นี่คืออานิสงฆ์แห่งการถวายสลากภัตต์ นับว่ายิ่งใหญ่ไพศาลยิ่งนัก สามารถอำนวยสุขสวัสดิ์แก่ผู้บำเพ็ญทั้งชาติมนุษย์และสวรรค์ ในที่สุดถึงความเป็นพระพุทธเจ้าได้

     การเตรียมห่อข้าวน้อย

    พระสงฆ์รดน้ำที่ห่อข้าวน้อย

      แขวนห่อข้าวน้อยตามต้นไม้

     ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์
คำถวายสลากภัต 
          เอตานิมะนังภันเต สะจากะภัตตานิ สะปะริวารานิ อะสุภัฏฐานน ฐะปิตานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเตอภิกขุสังโฆ เอตานิ สะลากะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
คำแปล
         ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งตั้งไว้ ณ ที่โน้น ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่งภัตตาหารพร้อมทั้งของที่เป็นบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลายเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ.
       
พิธีกรรม
          เมื่อถึงวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ญาติโยมจะเตรียมอาหาร คาวหวาน และหมากพลู บุหรี่ พอเข้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ญาติโยมจะพากันทำบุญใส่บาตร พอถึงเวลาประมาณ 9 - 10 โมงเช้า พระสงฆ์จะตีกลองโฮม(รวม) ญาติโยมจะนำอาหารที่เตรียมถวายพระสงฆ์และห่อข้าวน้อยซึ่งมีอาหารคาวหวาน อย่างละเล็กอย่างละน้อยแต่ละห่อประกอบด้วย
          1. ข้าวเหนียว เนื้อปลา เนื้อไก่ หมู และใส่ลงไปอย่างละเล็กอย่างละน้อยถือเป็นอาหารคาว
          2. กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง แตงโม สับปะรด ฟักทอง (แล้วแต่จะเลือกใส่)เป็นอาหารหวาน
          หลังจากนำอาหารที่เตรียมห่อเป็นคู่ๆ นำมาผูกกันเป็นพวงแล้วแต่จะใส่กี่ห่อก็ได้ส่วนใหญ่จะใช้ 10 คู่ เมื่อนำไปเลี้ยง "ผีตาแฮกที่นาของตนเองด้วย โดยมีความเชื่อว่าจะทำให้ผีตาแฮกพอใจ และช่วยดูแลข้าวกล้าในนาให้งอกงามสมบูรณ์ ตลอดจนช่วยขับไล่ศัตรูข้าวได้แก่ นก หนู ปูนา ไม่ให้มาทำลายต้นข้าวในนาอีกส่วนหนึ่ง เมื่อนำอาหารมาถึงศาลาวัดที่จะทำบุญแล้ว เขียนชื่อของตนลงในกระดาษ ม้วนลงใส่ในบาตร เมื่อทุกคนมาพร้อมกันแล้ว ผู้ที่จะเป็นหัวหน้ากล่าวนำคำถวายสลากภัต ญาติโยมว่าตามจบแล้วนำไปให้พระเณร จับสลากที่อยู่ในบาตร พระเณรจับได้สลากของใคร ผู้เป็นเจ้าของพาข้าว(สำรับกับข้าว)และเครื่องปัจจัยไทยทานก็นำไปประเคนให้พระรูปนั้นๆ จากนั้นพระเณรจะฉันเพล ให้พรญาติโยมจะพากันรับพรแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว

         
         

วันเข้าพรรษา

รู้จักความเป็นมาและข้อมูลของวันเข้าพรรษา

   การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

          วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงกลางเดือน 11 วันเข้าพรรษาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้มีอยู่ 2 วันคือ 

          - วันเข้าปุริมพรรษา คือวันเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน 11 
          - วันเข้าปัจฉิมพรรษา  คือวันเข้าพรรษาหลัง ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 9 ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 12 
เมื่อเข้าพรรษาแล้วหากภิกษุมีกิจธุระจำเป็น อันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ โดยมีข้อจำกัดว่าจะต้องกลับมายังสถานที่จำพรรษาเดิมภายใน 7 วัน ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ ดังต่อไปนี้ 

            1.   เมื่อทายกทายิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศล เมื่อมานิมนต์ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้ 
            2.   ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได้ 
            3.   ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นไข้ เมื่อทราบก็ให้ไปได้ 
            4.   พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปหาสิ่งของเพื่อมาปฏิสังขรพระวิหารนั้นได้ 
            5.   เมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น พระวิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม ก็ให้ไปจากที่นั้นได้ 
            6.   เมื่อชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ก็ให้ไปกับพวกชาวบ้านได้โดยให้ไปกับชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสศรัทธา สามารถที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้ 
            7.   เมื่อที่ใดเกิดความขาดแคลน อาหารหรือยารักษาโรค ขาดผู้อุปถัมภ์บำรุง ได้รับความลำบากก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้ 
            8.   ถ้าหากมีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้ 
            9.   หากภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกันหรือมีผู้พยายามจะให้แตกกัน ถ้าการไปจากที่นั้นสามารถระงับการแตกกันได้ ก็อนุญาตให้ไปได้
          ใน วันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า 
          อิมสฺมึ  อาวาเส  อิมํ  เตมาสํ  วสฺสํ  อุเปมิ    หรือ    อิมสฺมึ  วิหาเร  อิมํ  เตมาสํ  วสฺสํ  อุเปมิ แปลว่า  ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในอาวาสนี้ หรือในวิหารนี้  (ว่า 3 ครั้ง)  หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้วก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญในอาวาสนั้น  ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระที่ตนเคารพนับถือ
ขอบคุณ http://lent.sanook.com/

ความสำคัญของวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษานี้มีความสำคัญต่อพุทธศาสนิกชนและเป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาด้วยเหตุผลดังนี้
           ๑. พระภิกษุจะหยุดจาริกไปยังสถานที่อื่นๆแต่จะเข้าพักอยู่ประจำในวัดแห่งเดียวตามพุทธบัญญัติ 
           ๒. การที่พระภิกษุอยู่ประจำที่นานๆ ย่อมมีโอกาสได้สงเคราะห์กุลบุตรที่ประสงค์จะอุปสมบทเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและสงเคราะห์พุทธบริษัททั่วไป 
           ๓. เป็นเทศกาลที่พระพุทธศาสนิกชนงดเว้นอบายมุขและความชั่วต่าง ๆ เช่น การดื่มสุราสิ่งเสพติด และการเที่ยวเตร่เฮฮา เป็นต้น ๔. นอกจากเป็นเทศกาลที่พุทธศาสนิกชนงดเว้นอบายมุขและความชั่วต่าง ๆ แล้วในช่วงเวลาพรรษา พุทธศาสนิกชนทั่วไปจะบำเพ็ญทาน รักษาศีลฟังธรรม และเจริญภาวนามากขึ้น

พิธีทางศาสนา

    การบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานี้ยังมีประเพณีสำคัญอยู่ ๒ ประเพณี ควรนำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้
๑. ประเพณีแห่เทียนพรรษา
           ประเพณีนี้คงเกิดขึ้นจากความจำเป็นที่ว่าสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้กันดังปัจจุบัน เมื่อพระสงฆ์จำพรรษารวมกันมาก ๆก็จำต้องปฏิบัติกิจวัตรเช่น การทำวัตรสวดมนต์เช้ามืดและตอนพลบค่ำ การศึกษาพระปริยัติธรรมกิจกรรมเหล่านี้ล้วนต้องการแสงสว่างโดยเฉพาะ แสงสว่างจากเทียนที่พระสงฆ์จุดบูชาพระรัตนตรัยและเพื่อต้องการใช้แสงสว่างโดยตรงด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนจึงนิยมหล่อเทียนต้นใหญ่ กะว่าจะจุดได้ตลอดเวลา ๓ เดือนไปถวายพระภิกษุในวัดใกล้ ๆบ้านเป็นพุทธบูชา เทียนดังกล่าวเรียกว่า เทียนจำนำพรรษา
           ก่อนจะนำเทียนไปถวายนี้ ชาวบ้านมักจัดเป็นขบวนแห่แหนกันไปอย่างเอิกเกริกสนุกสนานเรียกว่าประเพณีแห่เทียนจำนำพรรษาดังขอสรุปเนื้อหาจากหนังสือนางนพมาศ ดังนี้
           เมื่อถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ทั้งทหารบกและทหารเรือก็จัดขบวนแห่เทียนจำนำพรรษา ทั้งใส่คานหาบไปและลงเรือประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำประดับธงทิว ตีกลอง เป่าแตรสังข์ แห่ไป ครั้นถึงพระอารามแล้วก็ยกต้นเทียนนั้นเข้าไปถวายในพระอุโบสถหอพระธรรม และพระวิหารจุดตามให้สว่างไสวในที่นั้นๆ ตลอด ๓ เดือน ดังนี้ทุกพระอาราม
           ในวัดราษฎร์ทั้งหลาย ก็มีพิธีทำนองนี้ทั่วพระราชอาณาจักร ปัจจุบัน ประเพณีแห่เทียนจำนำพรรษานี้ยังถือปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป บางจังหวัด เช่น อุบลราชธานี ถือให้เป็นประเพณีเด่นประจำจังหวัดตนได้จัดประดับตกแต่งต้นเทียนใหญ่ๆ มีการประกวดแข่งขันแล้วแห่แหน ไปถวายตามวัดต่าง ๆ
๒. ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน
           การถวายผ้าอาบน้ำฝนนี้ เกิดขึ้นแต่สมัยพุทธกาล คือ มหาอุบาสิกา ชื่อว่า วิสาขาได้ทูลของพระบรมพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ ได้มีผ้าอาบน้ำสำหรับผลัดเปลี่ยนเวลาสรงน้ำฝนระหว่างฤดูฝน นางวิสาขาจึงเป็นสตรีคนแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระสงฆ์ 
           ด้วยเหตุนี้ เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชน ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยราชธานี จึงนิยมนำผ้าอาบน้ำฝนไปถวายผ้าอาบน้ำฝนถวายพระสงฆ์ผู้จะอยู่พรรษา พร้อมกับอาหารและเครื่องใช้ที่จำเป็นต่าง ๆ
           แม้ในปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนไทยก็คงยังปฏิบัติกิจกรรม อย่างนี้อยู่บางวัดมีการแจกฎีกานัดเวลา ประกอบพิธีถวายผ้าอาบน้ำฝน (วัสสิกสาฎก) หรือ ผ้าจำนำพรรษาและเครื่องใช้อื่นๆ ณ ศาลาบำเพ็ญกุศลของวัดใกล้บ้าน

อานิสงส์แห่งการจำพรรษา

         เมื่อพระภิกษุอยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนได้ปวารณาแล้ว ย่อมจะได้รับอานิสงส์แห่งการจำพรรษา ๕ อย่าง ตลอด ๑ เดือนนับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป คือ 
          ๑. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องบอกลา ตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ปาจิตตีย์กัณฑ์ 
          ๒. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ 
          ๓. ฉันคณะโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้ 
          ๔. เก็บอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา 
          ๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของพวกเธอ
          และยังได้โอกาสเพื่อที่จะกราลกฐิน และได้รับอานิสงส์พรรษาทั้ง ๕ ขึ้นนั้นเพิ่มออกไปอีก ๔ เดือน ในฤดูหนาว คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ไปจนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ อีกด้วย  งานเสริมทำออนไลด์ผ่าน net 100% 5 หมื่น บ/ด ขั้นต่ำ ขอย้ำว่าขั้นต่ำ

ประวัติวันเข้าพรรษา และความเป็นมาของวันเข้าพรรษา

๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
           เมื่อครั้งที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ วัด เวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นคือ พวกชาวบ้าน กลุ่มหนึ่งพากันกล่าวตำหนิพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาว่า ช่างไม่รู้จักกาลเวลาเสียเลยพากันจาริกไปเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้งแม้ในระหว่างฤดูฝนบางครั้งก็ไปเหยียบข้าวกล้าของชาวนาเสียหาย ขณะที่พวกนิครนถ์ นักบวชในศาสนาอื่นและฝูงนกยังหยุดพักผ่อนไม่ท่องเที่ยงไปในฤดูฝนเช่นนี้ เรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้าในกาลต่อมา พระองค์จึงทรงรับสั่งให้พระสงฆ์ประชุมพร้อมกันตรัสถามจนได้ความเป็นจริงแล้วจึงทรงบัญญัติเรื่องการเข้าพรรษาไว้ว่า
           อนุชานามิ ภิกขะเว อุปะคันตุง    แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พวกเธออยู่จำพรรษา"
          พระสงฆ์ที่เข้าจำนำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่หากมีกรณีจำเป็น 4 ประการต่อไปนี้ ภิกษุผู้อยู่พรรษาสามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ต้องกลับมาภายในระยะเวลา 7 วัน คือ
1. ไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
2. ไประงับไม่ให้ภิกษุสึก
3. ไปเพื่อธุระของสงฆ์
4. ทายกนิมนต์ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขา
           วันเข้าพรรษานี้โดยทั่วไปกำหนดในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า วันเข้าพรรษา (ปุริมพรรษา) ถ้าปีใดเป็นปีอธิกมาส มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเข้าพรรษา ในวันแรม๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถเข้าพรรษาได้ก็เลื่อนเข้าพรรษา ในแรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ก็ได้ ไปสิ้นสุดเอาวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๑๒ เรียกว่า วันเข้าพรรษาหลัง (ปัจฉิมพรรษา) 
 
๒. การถือปฏิบัติวันเข้าพรรษาในประเทศไทย 
           สมัยก่อนประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม จะเริ่มทำไร่ทำนาปักดำข้าวกล้าก่อนพรรษากาลพอ พระสงฆ์เข้าพรรษาก็จะเสร็จงานในไร่นา ย่อมมีเวลาว่างมาก ประกอบกับการคมนาคมไปมาระหว่างสถานที่ต่าง ๆ ก็ไม่ค่อยสะดวก เนื่องจากฝนตกชุกและน้ำขึ้นเจิ่งนอง เต็มแม่น้ำลำคลองทั่วไปชาวบ้านจึงถือโอกาสเข้าวัดถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรมและเจริญภาวนาเพิ่มพูนบุญกุศลกันมากขึ้น
           ดังนั้นเมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนก็จะพากันหาอาหารทั้งคาวหวาน ผลไม้ และเครื่องอุปโภคที่จำเป็นแก่สมณะนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ใกล้บ้านตน พระภิกษุสงฆ์แนะนำสั่งสอนให้เกิด ศรัทธาในการปฏิบัติ ตามหลักทานศีลและภาวนา และความไม่ประมาทในการประกอบคุณความดีอื่น ๆ
           ตามประวัติศาสตร์ พุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้เริ่มบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานี้ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า
           "พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ทั้งท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขันทั้งสิ้นทั้งหลายทั้งหญิงทั้งชายฝูงท่วยมีศรัทธาในพุทธศาสน์ มักทรงศีล เมื่อพรรษาทุกคน"
           นอกจากการรักษาศีลแล้ว พุทธศาสนิกชนไทย ในสมัยสุโขทัยนั้นยังได้บำเพ็ญกุศลอื่น ๆดังรายละเอียดปรากฎอยู่ในหนังสือ นางนพมาศ พอสรุปได้ดังนี้ 
           เมื่อถึงเดือน ๘ ก็มีพระราชพิธีอาษาฒมาส พระภิกษุสงฆ์ทุกรูป จะได้เข้าจำพรรษา ในพระอารามต่าง ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งให้จัดแจงเสนาสนะถวาย พร้อมทั้งบริขารอันควรแก่สมณะบริโภค เช่น เตียงตั่ง เสื่อสาด ผ้าจำนำพรรษา อาหารหวานคาวยารักษาโรค และธูปเทียนจำนำพรรษา เพื่อบูชาพระรัตนตรัยในพระอารามหลวงทั่วราชอาณาจักร แม้ชาวเมืองสุโขทัย ก็บำเพ็ญกุศลเช่นนี้ในวัดประจำตระกูลของตน 

ประเพณีตักรบาตรดอกไม้ในวันเข้าพรรษา

     การตักบาตรดอกไม้ เดิมทีเดียวได้มีเรื่องราวในสมัยพุทธกาลของนายสุมนมาลาการที่ได้ถวายดอกมะลิ แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องราวมีอยู่ว่า       ในกรุงราชคฤห์มีช่างจัดดอกไม้คนหนึ่ง ชื่อ "สุมนะ" ทุกๆ เช้า เขาจะนำดอกมะลิ 8 ทะนาน ไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร และจะได้ทรัพย์มาเป็นค่าดอกไม้วันละ 8 กหาปณะเป็นประจำ วันหนึ่ง ขณะที่เขาถือดอกไม้จะนำไปถวายพระราชา พระบรมศาสดาเสด็จมาบิณฑบาต พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์จำนวนมาก พระพุทธองค์ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีออกจากพระวรกาย นายสุมนะเห็นแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธามาก อยากจะถวายดอกมะลิทั้ง 8 ทะนาน ที่ถืออยู่ในมือ เพื่อเป็นพุทธบูชา       เขาคิดว่า "ถ้าหากพระราชาไม่ได้รับดอกไม้เหล่านี้ในวันนี้ เราอาจจะถูกประหาร หรือถูกเนรเทศออกจากแว่นแคว้นก็ได้ แต่ก็ช่างเถอะ  เพราะถึงพระราชาจะทรงอนุเคราะห์เรา ด้วยการพระราชทานทรัพย์เป็นค่าดอกไม้ ก็คงพอเลี้ยงชีวิตได้แค่ในภพชาตินี้เท่านั้น แต่การบูชาพระบรมศาสดาด้วยดอกไม้เหล่านี้ จะทำให้เราได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า" 
    เขาคิดอย่างนี้แล้วก็ตัดสินใจสละชีวิต โปรยดอกไม้ทั้ง   8 ทะนาน บูชาพระบรมศาสดาทันที ทันใดนั้น สิ่งอัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น คือ ดอกมะลิทั้ง 8 ทะนาน ไม่ได้ตกถึงพื้นดินเลย ดอกมะลิ 2 ทะนาน ได้กลายเป็นเพดานดอกไม้ แผ่อยู่เหนือพระเศียรของพระบรมศาสดา อีก 2 ทะนาน แผ่เป็นกำแพงดอกไม้ลอยอยู่ข้างขวา และ 2 ทะนานอยู่ข้างซ้าย  ส่วนอีก 2 ทะนาน อยู่ข้างหลัง กำแพงดอกไม้ทั้งหมดนี้ ลอยไปพร้อมกับพระบรมศาสดา เมื่อพระพุทธองค์ทรงพระดำเนิน กำแพงดอกมะลิทั้งหมดก็ลอยตามไป เมื่อประทับยืน กำแพงดอกมะลิก็หยุดอยู่กับที่เหมือนกัน
     นายสุมนะเห็นดังนั้น เกิดความปีติปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบเรื่อง แทนที่จะลงโทษกลับชื่นชมและปูนบำเหน็บรางวัลทำให้นายมาลาการมีชีวิตที่สุขสบายขึ้น เพราะเหตุนี้ ได้มีประเพณีตักบาตรเข้าพรรษาของไทยที่ได้สืบทอดมานาน และเป็นเอกลักษณ์อย่างยิ่งที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยมีการใช้ดอกไม้ชนิดหนึ่งในการใส่บาตรเรียกว่า 


สื่อประกอบคู่มือครูรายวิชาพื้นฐานสาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

สื่อประกอบคู่มือครูรายวิชาพื้นฐานสาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


เขียนโดย OHOADMIN เมื่อ . หัวข้อ คู่มือครูมัธยมศึกษาปีที่1มัธยมศึกษาปีที่2มัธยมศึกษาปีที่3สื่อการสอนสื่อประกอบสื่อใช้สำหรับประกอบคู่มือครูรายวิชาพื้นฐานสาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จัดทำโดย สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท.เท่านั้น
โดย "รหัสผ่านจะอยู่ในหน้าคำชี้แจง" ของหนังสือคู่มือครูฯ แต่ละเล่ม ซึ่งในแต่ละชั้นปีจะไม่เหมือนกัน โดยมีให้ดาวน์โหลดดังนี้
สื่อประกอบคู่มือครูรายวิชาพื้นฐานสาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น ม.1สื่อประกอบคู่มือครูรายวิชาพื้นฐานสาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น ม.2สื่อประกอบคู่มือครูรายวิชาพื้นฐานสาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น ม.3

 
 new14new16manualm3
เขียนโดย OHOADMIN เมื่อ . หัวข้อ คู่มือครูมัธยมศึกษาปีที่1มัธยมศึกษาปีที่2มัธยมศึกษาปีที่3สื่อการสอนสื่อประกอบสื่อใช้สำหรับประกอบคู่มือครูรายวิชาพื้นฐานสาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จัดทำโดย สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท.เท่านั้น
โดย "รหัสผ่านจะอยู่ในหน้าคำชี้แจง" ของหนังสือคู่มือครูฯ แต่ละเล่ม ซึ่งในแต่ละชั้นปีจะไม่เหมือนกัน โดยมีให้ดาวน์โหลดดังนี้
  • สื่อประกอบคู่มือครูรายวิชาพื้นฐานสาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น ม.1
  •  
  • สื่อประกอบคู่มือครูรายวิชาพื้นฐานสาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น ม.2
  •  
  • สื่อประกอบคู่มือครูรายวิชาพื้นฐานสาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น ม.3
  •  
 new14new16manualm3

ทำบูญขึ้นบ้านใหม่

          ทำบูญขึ้นบ้านใหม่
พิธี “ขึ้นบ้านใหม่” เป็นหนึ่งในความเชื่อของชาวไทยที่ได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งสำหรับการสร้างสิริมงคลให้กับตัวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านมือสองหรือมือหนึ่งที่เพิ่งซื้อและเข้ามาอยู่อาศัยได้ไม่นาน สำหรับการทำพิธีนี้จึงเป็นทั้งความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณีที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ช่วยให้เจ้าของบ้านและสมาชิกในครอบครัวมีความสุขกายสบายใจ ทั้งในแง่ที่ช่วยปัดเป่าเอาสิ่งชั่วร้าย เหลือไว้แต่สิ่งดีๆ ภายในบ้าน ซึ่งจะช่วยเชิดชูจิตใจของทุกคนให้มีแต่ความสุขความเจริญ แม้สิ่งเหล่านี้จะเป็นเพียงพิธีกรรมที่ทำสืบต่อกันมาตามบขนบธรรมเนียมโบราณ โลกที่เข้าสู่ยุควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างในปัจจุบัน งานขึ้นบ้านใหม่ก็ยังเป็นสิ่งที่ไม่เคยจางหายไป และยังเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างกำลังใจดีๆ ให้กับทุกคนในครอบครัว เพื่อความเบากายสบายใจว่าบ้านที่อาศัยอยู่จะมีแต่สิ่งดีๆ เข้ามา
นอกจากการขึ้นบ้านใหม่จะเป็นเรื่องของความเชื่อในทางไสยศาสตร์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว สิ่งนี้ยังเป็นการบอกกล่าวให้ผู้คนรอบด้าน โดยเฉพาะเหล่าเพื่อนบ้านได้เปิดรับเข้ามาทำความรู้จักกันเอาไว้ เมื่อในยามเดือดร้อนจะได้บอกกล่าวขอความช่วยเหลือกันและกันได้สะดวกมากขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย ถือว่าเป็นการสร้างมิตรภาพระหว่างกันของคนในชุมชนให้ได้รู้จักกันเอาไว้ก่อน
เริ่มต้นพิธีสำหรับการเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้าน
ก่อนที่จะเข้าสู่พิธีขึ้นบ้านใหม่ เจ้าของบ้านต้องทำพิธี “เข้าบ้านใหม่” เสียก่อน ซึ่งพิธีจะเริ่มต้นด้วยการให้หัวหน้าครอบครัวหรือเจ้าบ้านเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมทั้งหมด ที่สำคัญจะต้องมีการอัญเชิญพระพุทธรูปประจำบ้านให้เข้ามาประดิษฐานเพื่อคอยปัดเป่าภูติผีและสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาภายในบ้านได้ ในขณะอัญเชิญให้ทำการจุดธูปเทียนเพื่อเป็นการบูชา จากนั้นจึงตามด้วยอธิษฐานเพื่อบอกกล่าวแก่องค์พระเพื่อให้ท่านได้ปกป้องคุ้มครองบ้านหลังนี้ให้มีแต่ความสุขความเจริญ ห่างไกลจากสิ่งไม่ดี ให้สมาชิกในครอบครัวมีความปลอดภัยและอยู่เย็นเป็นสุข
บ้านบางหลังก็จะมีการทำพิธีกรรมเล็กๆ นิมนต์พระ 1 รูปมาทำการประพรมน้ำมนต์ที่ผ่านการปลุกเสกตามห้องต่างๆ เพื่อปัดเป่าเอาสิ่งไม่ดีออกไป และช่วยเสริมสิริมงคลอันเป็นความเชื่อสำคัญของคนไทยให้มากขึ้น สุดท้ายอย่าลืมที่จะอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร เจ้าที่เจ้าทางและเหล่าสัมภเวศีทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในบ้านและบริเวณใกล้เคียงด้วย
ทำบุญขึ้นบ้านใหม่
พิธีกรรมการขึ้นบ้านใหม่
สำหรับรายละเอียดของการขึ้นบ้านใหม่ หลังจากเสร็จสิ้นพิธีกรรมเข้าบ้านใหม่แล้ว พิธีนี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำกันทุกบ้านตามความเชื่อ ส่วนพิธีจะเล็กหรือใหญ่โตมโหฬารแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ของเจ้าบ้านเอง แต่ผลลัพธ์ของสิ่งที่ได้มา ไม่ว่าจะเป็นพิธีเล็กหรือใหญ่ก็ล้วนให้ความหมายที่ดีต่อคนในครอบครัวไม่น้อยไปกว่ากัน บางบ้านมีงบประมาณจำกัดก็ทำแบบง่ายๆ ในครอบครัวแบบไม่ได้ชวนชาวบ้านใกล้เคียงมาร่วมพิธี แต่หากใครมีงบมากและต้องการให้ตัวเองเป็นที่รู้จักของผู้คนในชุมชน ก็สามารถจัดงานเลี้ยงฉลองอย่างใหญ่โต เพื่อสร้างสีสันและความสนุกครื้นเครงให้กับคนอื่นร่วมด้วย
สิ่งที่ควรเตรียมสำหรับการจัดพิธี
ในพิธีกรรมนี้ สิ่งของที่ไม่ควรขาดคือดอกไม้ธูปเทียน พระพุทธรูป ผลไม้และไม้มลคลต่างๆ ซึ่งจะนำเอาใช้สำหรับการไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในที่นี้อาจจะมีการบวกรวมกับขนมไทยที่มีชื่อเป็นมงคลรวมอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ทองหยิบ ทองหยอด และทองเอก เป็นต้น
ต่อมาคือบุคคลที่ควรมีในงานคือผู้อาวุโส โดยส่วนใหญ่จะเลือกใช้เป็นผู้ชายซึ่งจะง่ายต่อการถวายของให้แก่พระและเป็นผู้ถือพระพุทธรูป โดยผู้อาวุโสที่เลือกนั้นจะต้องเป็นคนที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือด้วย ในขั้นตอนที่สำคัญคือจะให้ผู้อาวุโสชายถือพระพุทธรูปเข้าสู่ตัวบ้าน ถือว่าเป็นผู้นำ จากนั้นคนอื่นๆ ให้เดินตามเข้าไป เชื่อกันว่าการกระทำเช่นนี้จะทำให้บ้านที่สร้างเสร็จมีความร่มเย็นเป็นสุข จากนั้นจึงนำเอาพระไปตั้งไว้ยังหิ้งพระที่จัดเตรียมเอาไว้
พระสงฆ์ที่นิมนต์มาควรนิมนต์มาก่อนวันทำบุญไม่น้อยไปกว่า 5 วัน โดยให้เลือกระหว่าง  5,6 หรือ 9 รูป เพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมด้วยการจัดโต๊ะหมู่บูชา มีผ้าขาว กระถางธูปและเชิงเทียน โดยจัดให้โต๊ะหมู่อยู่ด้านขวาของพระสงฆ์
อย่าลืมก่อนเริ่มพิธีกรรมควรมีการบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางบริเวณนั้นว่าจะขอเข้ามาอยู่อาศัย เพื่อช่วยให้ท่านปกปักรักษา ให้บ้านอยู่เย็นเป็นสุข มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง และปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง บางบ้านตามชนบทยังมีความเชื่อเกี่ยวกับผีบ้านผีเรือนด้วย โดยเฉพาะตามเสาบ้าน เชื่อกันว่ามีผีสิงห์สถิตอยู่ จึงจะมีการเตรียมกระทงใบตองขนาดเล็ก ใส่อาหารคาวหวาน เหล้า และบุหรี่ตั้งเอาไว้บริเวณเสาเพื่อทำการเซ่นให้ผีบ้านผีเรือนออกมากินอาหาร
ที่สำคัญอย่าลืมจัดให้อาสน์สงฆ์อยู่สูงกว่าเหล่าฆราวาส มีการเตรียมแก้วน้ำ กระโถน และปัจจัยเอาไว้ด้วย โดยทั่วไปก็จะมีการล้อมสายสิญจน์รอบบ้านเอาไว้ในขณะทำพิธี เพื่อให้ภายในบ้านปลอดภัยจากสิ่งชั่วร้าย ถือว่าเป็นแดนศักดิ์สิทธิ์มีการเริ่มต้นจากจุดขององค์พระพุทธรูป เชื่อมต่อไปยังมุมห้อง ใช้การเวียนขวาไปรอบเรือน จากนั้นวกกลับเข้ามาที่ตัวพระพุทธรูปและจบที่บาตรน้ำมนต์ ซึ่งภายในจะมีการจัเตรียมน้ำสะอาดเอาไว้เพื่อใช้ในขณะช่วงทำพิธีกรรมด้วย
เริ่มต้นพิธีขึ้นบ้านใหม่
เมื่อเตรียมสิ่งของ ปัจจัยและบุคคลที่สำคัญๆ ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ถึงขึ้นตอนของการเริ่มพิธี ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรูปแบบที่ไม่แตกต่างกัน ที่สำคัญวันที่ใช้สำหรับการเริ่มพิธีขึ้นบ้านใหม่หากให้ดีควรไปดูฤกษ์ยามกับทางเจ้าอาวาสให้ท่านแนะนำมาด้วย เมื่อเริ่มพิธีหลังจากที่นิมนต์พระมาตามจำนวนดังกล่าวข้างต้นแล้วก็จะเข้าสู่พิธีการดังต่อไปนี้ค่ะ
1.เจ้าอาวาสและพระสงฆ์ที่นิมนต์มาจะเดินทางมาที่บ้านตามจำนวนเลขคี่ที่เลือกไว้ขึ้นเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการเจริญพระพุทธมนต์พร้อมมัคทายก ซึ่งจะช่วยให้พิธีการราบรื่นเป็นไปตามแบบแผนได้ดี
2.เจ้าภาพจะทำการจุดเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัย ส่วนพิธีกรหรือมัคทายกจะเป็นผู้เริ่มนำสวดกล่าวคำบูชาพระ กราบพระ และอาราธนาศีลตามด้วยการให้ศีลจากพระสงฆ์
3.เข้าสู่ขั้นตอนอาราธนาพระปริตร และพระสงฆ์จะเริ่มเจริญพระพุทธมนต์ เจ้าภาพจะจุดเทียนน้ำมนต์เมื่อพระสงค์สวดถึงในท่อน “อเสวนา จะ ฯลฯ”
4.หลังจากเจริญพระพุทธมนต์จบ เจ้าภาพจะต้องทำการถวายภัตราหารหรือเพลแก่พระสงฆ์บริเวณด้านหน้า พิธีกรจะเป็นผู้กล่าวนำคำถวายข้าวแด่พระสงฆ์ จากนั้นก็จะต้องรอให้พระสงฆ์ฉันภัตราหารเสร็จจึงเข้าสู่พิธีการต่อไป
4.เข้าสู่ขั้นตอนที่เจ้าภาพถวายเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์และอนุโมทนาบุญ
5.เจ้าภาพทำการกรวดน้ำตามด้วยการรับศีลรับพรเป็นลำดับต่อไป
6.พระสงฆ์ผู้เป็นประธานจะทำการประพรมน้ำมนต์พระพุทธมนต์ ส่วนพระสงฆ์ที่เหลือจะทำการเจริญชัยมงคลคาถา ตามด้วยการเจิมประตูบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล และประตูของห้องต่างๆ ทุกห้อง โดยเฉพาะห้องนอน มีการประพรมน้ำมนต์ตามห้องที่เจ้าภาพต้องการ รวมไปถึงบริเวณบ้าน ส่วนนอกบ้านอาจจะมีการโปรยทรายเสก ซึ่งส่วนใหญ่จะเหมาะสำหรับบ้านใหม่ที่ไม่เคยได้รับการโปรยมาก่อน แต่หากบ้านไหนเคยทำแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทำการโปรยอีก
7.เจ้าภาพทำการกราบพระรัตนตรัย หลังจากนี้ถือว่าเสร็จสิ้นพิธีการและพระสงฆ์เดินทางกลับ บ้านหลังไหนที่มีฐานะหน่อยอาจจะมีการเฉลิมฉลองตามมาในภายหลังจากนั้น หรือมีการบรรเลงเพลงมหาฤกษ์เพื่อเป็นการปิดพิธีอย่างเป็นทางการก็สามารถทำได้เช่นกัน
tumboon
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณสำหรับการขึ้นบ้านใหม่
ในปัจจุบันการขึ้นบ้านใหม่สำหรับมือใหม่ที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องพิธีกรรมสมัยโบราณเช่นนี้ เริ่มมีธุรกิจจัดเตรียมพิธีแบบเป็นแพคเกจเอาไว้ให้เพื่อความสะดวกสบาย เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีความรู้ในด้านนี้เลย มีให้เลือกหลากหลายราคาตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่โต จะมีราคาเริ่มต้นคร่าวๆ แบบรวมทุกอย่างอยู่ที่ 10,000 บาทขึ้นไป ส่วนกรณีที่มีการจัดการกันเองแบบในครอบครัว เชิญพระมาทำพิธีแบบเล็กๆ ก็จะตกอยู่ประมาณ 5,000 บาทเป็นขั้นต่ำ ซึ่งราคาเหล่านี้ไม่ถือว่าตายตัว ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างของเจ้าบ้านร่วมด้วย เพราะบางคนก็ต้องการทำเพียงเพื่อสร้างความร่มเย็นให้บ้านแต่พองาม แต่คนที่พอมีทรัพย์หน่อยก็อาจจะต้องการความเอิกเกริกใหญ่โตตามความพึงพอใจนั่นเองค่ะ
ข้อห้ามที่ไม่ควรทำสำหรับการขึ้นบ้านใหม่
สำหรับการขึ้นบ้านใหม่ หลายคนมีความเชื่อที่ผิดๆ หรือมองข้ามบางอย่างไป โดยทั่วไปตามหลักของโหราศาสตร์ ฤกษ์ต้องห้ามที่ไม่ควรจัดงานคือวันเสาร์ ซึ่งถือว่าเป็นวันแห่งความเศร้าเสียใจ เกี่ยวข้องกับบาป เคราะห์กรรมและความโชคร้ายที่จะเข้ามาเยือนได้ ส่วนข้อห้ามเด็ดขาดหลังจากบ้านสร้างเสร็จและยังไม่ได้เริ่มพิธีกรรมใดๆ ไม่ควรเข้าไปทดลองนอนเล่นหรือค้างคืนในทันที แม้กระทั่งการย้ายข้าวของเข้ามาก็ควรรอฤกษ์ยามที่เหมาะสมก่อน ยกเว้นของตกแต่งที่ซื้อมาใหม่เท่านั้นที่สามารถนำเอาเข้าไปตั้งวางได้ แต่ทางที่ดีก็ควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งหรือจัดวางสิ่งของในวันเสาร์เป็นดี เพื่อช่วยสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับที่พักอาศัยได้มากที่สุด
แม้ว่าการขึ้นบ้านใหม่จะเป็นเพียงความเชื่อที่สืบทอดกันมา แต่ในปัจจุบันพิธีกรรมเหล่านี้ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของประเพณี แม้กาลเวลาจะเดินเข้าสู่โลกของวิทยาศาสตร์ แต่ด้วยความพึงพอใจและสบายใจของเจ้าบ้าน การจัดงานขึ้นบ้านใหม่ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับการเริ่มต้นชีวิตที่ดีงามภายในบ้านหลังใหม่ได้อย่างมีความสุข

การตักบาตร

การตักบาตร คือประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธปฏิบัติกันมาแต่สมัยพุทธกาล พระภิกษุจะถือบาตรออกบิณฑบาตเพื่อรับอาหารหรือทานอื่นๆ ตามหมู่บ้านในเวลาเช้า ผู้คนที่ออกมาตักบาตรจะนำของทำทานต่างๆ เช่น ข้าว อาหารแห้ง มาถวายพระ
ประเพณีนี้ชาวพุทธถือกันว่าเป็นการสร้างกุศล และถือว่าเป็นการแผ่ส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย โดยเชื่อกันว่าอาหารที่ถวายไปนั้นจะส่งถึงญาติผู้ล่วงลับด้วยเช่นกัน

กฎของพระภิกษุเกี่ยวกับการตักบาตร

พระภิกษุนั้นจะออกบิณฑบาตทุกวัน อันเนื่องมาจากกฎของพระภิกษุมีอยู่ว่า พระภิกษุไม่สามารถที่จะเก็บอาหารข้ามคืนได้
เวลาที่พระภิกษุออกบิณฑบาต พระภิกษุจะใช้ 2 มือประคองบาตรเอาไว้แล้วเดินในกิริยาสำรวม พระภิกษุจะไม่เอ่ยปากขออาหารจากผู้คน หรือแสดงกิริยาในการขอ หรือยืนรอ (นอกจากได้รับนิมนต์ให้รอ) โดยส่วนมากแล้วเวลาที่พระภิกษุออกบิณฑบาตคือ ตั่งแต่ช่วงเช้ามืด (ประมาณ 5 นาฬิกา อาจจะเร็วหรือช้ากว่านี้บ้างเล็กน้อยในแต่ละท้องที่) จนถึงก่อน 7 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาที่พระภิกษุฉันอาหารมื้อเช้า เมื่อเวลามีคนให้ทาน (ใส่บาตร) พระภิกษุต้องรับทานที่คนให้ทั้งหมด ไม่สามารถที่จะเลือกได้ว่าจะรับหรือไม่รับ หรือบอกกับผู้คนว่าตนต้องการสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่อย่างไรก็ดี สิ่งของที่จะนำมาใส่บาตร ควรเป็นดังนี้
  1. สิ่งที่จะนำมาใส่บาตร เป็นสิ่งของที่เป็นกับปิยะ เช่น ควรเป็นอาหาร เพื่อให้พระฉันได้ เช่น ข้าวสุก (คำว่า บาตร แปลว่าข้าวตก) กับข้าวที่ปรุงสุกแล้ว จุดประสงค์ในการบิณฑบาตร คือต้องการอาหาร มายังให้ร่างกายมีชีวิตให้อยู่ได้ เพื่อปฏิบัติธรรมเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อนำมาบริโภคตามใจ (กิเลส) ปรารถนา จึงไม่ควรใส่มากจนเหลือเฟือ อาหารที่ใส่ควรเป็นอาหารที่มีประโชน์ต่อร่างกาย
  2. เนื้อสัตว์ที่ต้องห้ามตามหลักศาสนาพุทธ เรียกว่า มังสัง 10 อย่าง ได้แก่ มนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข งู ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี และเสือดาว
  3. เนื้อสัตว์ที่ได้มาจากการที่บุคคลคนนั้นตั้งใจที่จะฆ่าสัตว์โดยมีจุดประสงค์หลักคือเพื่อที่จะเอาเนื้อมาถวายพระภิกษุโดยเฉพาะ และพระภิกษุรู้ว่าเนื้อนั้นมาจากการฆ่าเพื่อที่จะนำมาถวายตนโดยเฉพาะข้อนี้เป็นพุทธบัญญัติ หลังจากพระเทวทัต เสนอให้พระพุทธเจ้าห้ามไม่ให้ภิกษุฉันเนื้อตลอดชีวิต แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต ให้เป็นไปตามศรัทธาของแต่ละคน
และไม่ห้ามพระภิกษุฉันเนื้อในกรณี 3 ประการ คือ ไม่รู้ว่าเขาฆ่า, ไม่เห็นเขาฆ่า, ไม่ได้ยินว่าเขาฆ่าเพื่อเรา
  1. ผลธัญพืชที่มีเมล็ด บุคคลที่ตักบาตรไม่สามารถถวายผลธัญพืชที่มีเมล็ดได้ เพราะถือว่าเมล็ดนั้นยังสามารถที่จะให้กำเนิดชีวิตได้อยู่ ถ้าจะถวายต้องเอาเมล็ดออกก่อน ข้อนี้มาจากพุทธบัญญัติที่ห้ามไม่ให้พระภิกษุทำครัว เพราะการทำครัว จะต้องมีการฆ่า การพรากของสีเขียวหรือพืชคาม ภูตคาม "ภูตคาม" หมายถึง ต้นไม้ ใบหญ้า พีชที่มีรากติดอยู่ที่พื้นดิน ภิกษุตัดหรือทำให้หลุดจากลำต้นหรือทำให้พ้นจากพื้นดิน เป็นอาบัติปาจิตตีย์ "พีชคาม" หมายถึง พีชที่เขาตัดมาจากต้น แต่ยังงอกได้ หรือเมล็ดพีชที่งอกได้ภิกษุทำลายต้องอาบัติทุกกฎ
  2. วัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น ข้าวสาร, แป้ง ผัก ปลา เนื้อสัตว์ เพราะตามหลักของศาสนานั้นไม่อนุญาตที่จะให้พระภิกษุประกอบอาหาร (ตามข้อ4)

วิธีการตักบาตร

การตักบาตรโดยทั่วไป

ผู้คนที่นำของที่เอามาตักบาตรจะยืนรออยู่ตรงทางที่พระภิกษุเดินผ่าน ส่วนมากของที่ผู้คนใช้นิยมตักบาตรเป็นหลักคือข้าว โดยก่อนที่พระภิกษุเดินทางมาถึงจะมีการนำถ้วยข้าวจบที่ศีรษะแล้วอธิษฐาน เมื่อพระภิกษุเดินทางมาถึงพระภิกษุจะหยุดยืนอยู่ตรงหน้าคนที่จะตักบาตรแล้วเปิดฝาบาตร ก่อนที่จะตักบาตรคนที่ตักบาตรจะต้องถอดรองเท้าก่อน จากนั้นคนที่ตักบาตรจะนำทานที่ตนมีถวายพระ เมื่อให้เสร็จแล้วพระจะให้พร คนที่ตักบาตรประนมมือรับพร (โดยปกติแล้วจะนิยมคุกเข่าหรือนั่งยองๆ ประนมมือ ซึ่งผิดตามพระธรรมวินัย เพราะจะทำให้พระอาบัติ) ขณะที่ให้พรคนที่ตักบาตรอาจจะมีการกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับ (การกรวดน้ำนั้นอาจจะทำขณะที่พระให้พรหรือหลังจากการตักบาตรเสร็จสิ้นก็ได้) หลังจากที่พระภิกษุให้พรแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี

การตักบาตรในวันพระ

ในวันพระ ทุกขึ้น/แรม 8/15ค่ำ โดยทั่วไปพระภิกษุจะไม่มีการออกบิณฑบาต ผู้คนจะนำทานไปถวายที่วัด และวันนั้นพระภิกษุจะมีการเทศนาธรรมที่วัด โดยคตินิยมการเข้าวัดทำบุญนั้นน่าจะมีมาแต่สมัยพุทธกาลที่ชาวพุทธไปวัดเพื่อรับฟังพระธรรมเทศนาและถืออุโบสถศีล ในอดีตการไปทำบุญตักบาตรที่วัดวันพระนับว่าเป็นการไปพบปะเพื่อนฝูงญาติมิตรและแสดงออกถึงความสามัคคีของคนในชุมชนที่ได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งในปัจจุบันยังพอหาพบได้บางตามหมู่บ้านในแถบชนบท
ในเมืองใหญ่ ๆ ที่มีความเร่งรีบเช่นกรุงเทพ บางวัดจะมีการเทศนาที่วัดอย่างเดียวโดยไม่มีการจัดทำบุญตักบาตร ส่วนพระสงฆ์จะออกเดินบิณฑบาตเพื่อโปรดชาวพุทธตามปกติ

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการตักบาตร

Buddhist child 13.jpg
  • คำว่าตักบาตรนั้น สามารถที่จะเรียกว่าใส่บาตรก็ได้ ในบางที่มีคนสงสัยว่าตกลงแล้วเรียกว่าตักบาตรหรือใส่บาตรกันแน่ - ก็ว่ากันว่าคำว่าตักบาตรนั้นมาจากกิริยาอาการที่ใช้ทัพพีตักข้าวใส่บาตรพระ แต่ในปัจจุบันนี้เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ผู้คนใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบมากขึ้น ผู้คนจึงนำข้าวสารหรือของอื่นๆ ใส่ถุงหรือกล่อง เมื่อถึงเวลาตักบาตรจะได้สะดวกที่จะหยิบของใส่ได้ทันที คำว่าใส่บาตรจึงถือว่าเป็นวิวัฒนาการทางภาษาเพื่อสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน - สรุปว่าใช้ได้ทั้ง 2 อย่าง
  • ตามปกติผู้คนจะถือว่า ของที่นำมาถวายพระจะต้องเป็นของที่ดีที่สุดเสมอ ดังนั้นผู้คนจะจัดเตรียมทานที่ดีที่สุดตามกำลังที่หาได้ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อพิเศษเล็กน้อยเกี่ยวกับทานที่ให้ (ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล) เช่น ข้าวที่ถวายพระนั้นควรจะเป็นข้าวที่หุงสุกใหม่ๆ ร้อนๆ ยิ่งข้าวร้อนเท่าไหร่บุญกุศลจะยิ่งแรงมากขึ้นเท่านั้น, ถวายน้ำตาลแก่พระเพื่อที่จะส่งผลให้ชีวิตคู่มีความหวานสดชื่นดั่งน้ำตาล เป็นต้น
  • นอกจากอาหารแล้ว ผู้ที่ตักบาตรสามารถนำของใช้ต่างๆ ที่พระสงฆ์จำเป็นแก่การดำรงชีพมาถวายพระได้ด้วย เช่น เครื่องเขียน, สบู่, ยาสีฟัน, แปรงสีฟัน, น้ำยาสระผม ซึ่งน้ำยาสระผมมีผู้คนไม่น้อยที่เข้าใจว่าพระสงฆ์ไม่จำเป็นต้องใช้ แต่ความจริงแล้วน้ำยาสระผมมีความจำเป็นต่อพระสงฆ์ในการทำความสะอาดหนังศีรษะ
  • ปกติแล้วทานที่ให้มักจะเป็นอาหาร แต่ในบางท้องที่รูปแบบทานที่ให้บางครั้งอาจเป็นทานในรูปแบบอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทศกาลสำคัญด้วย เช่น ในวันออกพรรษาที่ จ. สระบุรี จะมีการตักบาตรดอกไม้ ผู้คนจะนำดอกไม้มาใส่บาตร หรือในเดือนยี่ที่ ต. หนองโน อ. เมืองสระบุรี จะมีพิธีตักบาตรข้าวหลามจี่ เป็นต้น

วันออกพรษา

                  วันออกพรรษา

วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน (นับตั้งแต่วันเข้าพรรษา) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา” คำว่า “ปวารณา” แปลว่า “อนุญาต” หรือ “ยอมให้” ใน วันออกพรรษา นี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วยซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย
 สำหรับ คำกล่าว ปวารณา มีคำกล่าวเป็นภาษาบาลีเป็นดังนี้ “สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ” มีความหมายว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้วจักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี
การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะจัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอด เมื่อถึง วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และวันถัดจาก วันออกพรรษา 1 วัน (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหนะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัด วันออกพรรษา หนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายังเมืองสังกัสสนคร พร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย
วันออกพรรษา

กิจกรรมในวันออกพรรษา

วันออกพรรษา นี้พุทธศาสนิกชนถือว่าเป็นโอกาศอันดีที่จะกระทำ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัดและฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้มมัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศล “ตักบาตรเทโว” ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
3. ร่วมกิจกรรม “ตักบาตรเทโว” (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11)
4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและประดับธงชาติ และธงธรรมจักร ตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับ วันออกพรรษา เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

กิจกรรม ประเพณีวันออกพรรษา ของไทย

1. ประเพณีออกพรรษา แห่ปราสาทผึ้ง และการแข่งขันเรือยาว จังหวัด สกลนคร
2. ประเพณีปอยเหลินสิบเอ็ด จังหวัด แม่ฮ่องสอน
3. ประเพณีตักบาตรเทโว จังหวัด อุทัยธานี
4. ประเพณีบุญแห่กระธูป จังหวัด ชัยภูมิ
5. ประเพณีชักพระ ทอดพระป่า และแข่งขันเรือยาว จังหวัดสุราษฎร์ธานี
6. งานเทศกาลออกพรรษาบั้งไฟพญานาค จังหวัด หนองคาย
7. ประเพณีลอยผาสาด ดารดาษนทีโขง จังหวัด เลย
8. เทศกาลงานบุญออกพรรษา จังหวัดมุกดาหาร
9. ทำบุญตักบาตรสองแผ่นดิน เหนือสุดในสยาม จังหวัด เชียงราย
10. งานประเพณีลากพระและมหกรรมวัฒนธรรมสัมพันธ์ จังหวัดตรัง
11. ประเพณีแข่งโพนลากพระ จังหวัด พัทลุง

วันมหาปวารณา (วันออกพรรษา)
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในวันออกพรรษา กับครอบครัว
1. วันออกพรรษา ครอบครัวจะช่วยกันทำความสะอาดบ้าน และประดับธงชาติ ธงธรรมจักร จัดแต่งโต๊ะหมู่บูชาพระประจำบ้าน
2. ศึกษาเอกสารและ สนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา และแนวทางปฏิบัติในครอบครัว
3. ครอบครัวจะร่วมกับบำเพ็ญบุญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทานร่วมกันในวันออกพรรษา
4. ปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล ไวห้พระสวดมนต์ร่วมกัน เนื่องในวันออกพรรษา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในวันออกพรรษา กับสถานศึกษา
1. ทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน และประดับธงชาติ ธงธรรมจักร เนื่องในวันออกพรรษา
2. ครูและ นักเรียนร่วมกันให้ความรู้ ความเข้าใจถึง ความสำคัญของวันออกพรรษา ทั้งหลักธรรม และการปฏิบัติตนในวันออกพรรษา
3. จัดกิจกรรม นิทรรศการ ประกวดเรียงความ สมุดภาพ ตอบปัญหาธรรม บรรยายธรรม เนื่องในวันออกพรรษา
4. จัดกิจกรรมร่วมกันกับชุมชนที่วัด บำเพ็ญกุศลทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังธรรม พัฒนาพื้นที่สาธารณะ และวัด และกิจกรรมอื่นๆ ที่เหมาะสมในวันออกพรรษา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในวันออกพรรษา กับสถานที่ทำงาน
1. ทำความสะอาดบริเวณที่ทำงาน และประดับธงชาติ ธงธรรมจักร เนื่องในวันออกพรรษา
2. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษ และการปฏิบัติตนเนื่องในวันออกพรรษา
3. ร่วมกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ปลูกต้นไม้ บริจาคโลหิต
4. หน่วยงานให้โอกาสผู้ร่วมงานบำเพ็ญกุศลตามประเพณีนิยม ในกรณีวันหยุด และเป็นวันออกพรรษา
วันออกพรรษา
ประโยชน์จะได้รับจากวันออกพรรษา
1. พุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรม เรื่องปวารณา และแนวทางปฏิบัติ
2. พุทธศาสนิกชนเกิดเจตคติที่ดีต่อวันออกพรรษา และเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรม คือ ปวารณา
3. พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธา ซาบซึ้ง และตระหนักในความสำคัญของพระพุทธศาสนา
4. พุทธศาสนิกชนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีรู้จักปฏิบัติตนตามหน้าที่ชาวพุทธได้อย่างถูกต้อง

บุญข้าวประดับดิน ประเพณีบุญเดือนเก้าของชาวอีสาน

 บุญข้าวประดับดิน ประเพณีบุญเดือนเก้าของชาวอีสาน


บุญข้าวประดับดิน


          บุญข้าวประดับดิน ประวัติบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า ประเพณีภาคอีสาน ที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และสัตว์นรกหรือเปรต

          ประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่สืบทอดกันมาในภาคอีสาน โดยบุญข้าวประดับดิน เป็นงานประเพณีที่ถูกจัดขึ้นในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า ของทุก ๆ ปี และในปี 2559 ประเพณีบุญข้าวประดับดิน ก็ตรงกับวันที่ 1 กันยายน

          ทั้งนี้ในการทำบุญข้าวประดับดินนั้น ชาวบ้านจะนำข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ มาห่อด้วยใบตอง และทำเป็นห่อเล็ก ๆ ก่อนจะนำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบ ๆ เจดีย์ หรือโบสถ์ โดยการทำบุญข้าวประดับดินนี้ ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงอุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรก หรือเปรต


          นอกจากนี้ บุญข้าวประดับดิน ยังถือว่าเป็นการให้ทานแก่ผู้ยากไร้รวมทั้งสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ ที่ต้องหิว อดมื้อกินมื้อมาตลอดทั้งปีอีกด้วย เพราะการที่ตั้งอาหารไว้ที่พื้นทำให้สัตว์เหล่านั้นสามารถเข้ามากินอาหารได้อย่างเต็มที่ 

          ความเป็นมาบุญข้าวประดับดิน

          การทำบุญข้าวประดับดินนี้ เกิดจากความเชื่อตามนิทานธรรมบทว่า ญาติของพระเจ้าพิมพิสาร ได้ยักยอกเงินวัดไปเป็นของตนเอง ครั้นตายไปแล้วได้ไปเกิดเป็นเปรตในนรก และเมื่อพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้วมิได้อุทิศให้ญาติที่ตาย กลางคืนพวกญาติที่ตายมาแสดงตัวเปล่งเสียงน่ากลัวให้ปรากฏใกล้พระราชนิเวศน์ รุ่งเช้าได้เสด็จไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทูลเหตุุให้ทราบพระเจ้าพิมพิสารจึงถวายทานอีก แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ ญาติที่ตายไปจึงได้รับส่วนกุศล ดังนั้น การทำบุญข้าวประดับดิน คือการทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาติผู้ตายแล้ว ถือเป็นประเพณีที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี 

ประวัติบุญข้าวประดับดิน ประเพณีบุญเดือนเก้าของชาวอีสาน

          พิธีกรรมบุญข้าวประดับดิน มีดังนี้

            1. วันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะเตรียมข้าวต้ม ขนม อาหารคาวหวาน หมาก พลู และบุหรี่ไว้ 4 ส่วน ส่วนหนึ่งเลี้ยงดูกันภายในครอบครัว ส่วนที่สองแจกให้ญาติพี่น้อง ส่วนที่สามอุทิศให้ญาติที่ตายไปแล้ว และส่วนที่สี่นำไปถวายพระสงฆ์ 

            ในส่วนที่สาม ญาติโยมจะห่อข้าวน้อย ซึ่งมีวิธีการห่อคือ ใช้ใบตองห่อขนาดเท่าฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุดซีกของใบตอง

            2. วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะไปวัดตั้งแต่เวลาตี 4 เพื่อนำสิ่งของที่เตรียมไว้จัดใส่กระทง หรือเย็บเป็นห่อเหมือนข้าวสากไปวางอุทิศส่วนกุศลตามที่ต่าง ๆ ซึ่งการวางแบบนี้ เรียกว่า การวางห่อข้าวน้อย แต่หากเป็นการนำไปวางในวัด จะเรียกว่า การยาย (วางเป็นระยะ ๆ ) ห่อข้าวน้อย ซึ่งเวลานำไปวางจะพากันไปทำอย่างเงียบ ๆ ไม่มีการตีฆ้อง ตีกลองแต่อย่างใด

            3. หลังจากวางเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารทำบุญที่วัดอีกทีหนึ่งในตอนเช้า เมื่อพระสงฆ์ฉันเช้าเสร็จก็จะเทศน์ฉลองบุญข้าวประดับดิน ต่อจากนั้น ชาวบ้านจะนำปัจจัยไทยทานถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ให้พรเสร็จ ชาวบ้านที่มาทำบุญก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทุก ๆ คน

          สำหรับอาหารคาวหวานที่ใส่ห่อในการทำบุญข้าวประดับดิน อาจมีดังนี้

            1. ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ 1 ก้อน

            2. เนื้อปลา เนื้อไก่ หมู และใส่ลงไปเล็กน้อย ถือว่าเป็นอาหารคาว

            3. กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง มะละกอ มันแกว อ้อย มะละกอสุก หรือขนมหวานอื่น ๆ ลงไป (ถือเป็นอาหารหวาน)

            4. หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ

            พอได้เรียนรู้ประเพณีดี ๆ ของภาคอีสาน อย่างประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้ากันแล้ว ก็เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคอีสานคงช่วยกันสานต่อประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า ให้รุ่นลูก รุ่นหลานได้มีโอกาสเรียนรู้ประเพณี และวัฒนธรรมดี ๆ แบบนี้ด้วยเช่นกัน

ข้าวประดับดิน  ข้าวประดับดิน

ข้าวประดับดิน