วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

งานแข่งขันเรือยาวประเพณี จังหวัดสิงห์บุรี

         การแข่งขันเรือยาวประเพณีจังหวัดสิงห์บุรี  ครั้งที่ 27 ประจำปี 2557  ชิงถ้วยพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี
แข่งเรือ5
              การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานลพบุรี ขอเชิญชมการแข่งขันเรือยาวประเพณีจังหวัดสิงห์บุรี  ครั้งที่ 27 ประจำปี 2557  ชิงถ้วยพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  ระหว่างวันที่ 22-23  ตุลาคม  2557  ณ  สนามลำแม่น้ำเจ้าพระยา  หน้าศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรี (หลังเดิม) 

            นายอรรถพล  วรรณกิจ  ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  สำนักงานลพบุรี  กล่าวว่า ในอดีต  แม่น้ำลำคลองคือทางสัญจรหลักของคนไทยเปรียบได้ดั่งถนนหนทางในปัจจุบัน  ชีวิตคนไทยจึงผูกพันกับสายน้ำอย่างแนบแน่น แม่น้ำลำคลองจึงเป็นแหล่งกำเนิดขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นไทย  และชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี  ส่วนใหญ่ใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทาง  ทั้งการค้า  การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา  และการสัญจรไปมาของประชาชนทั่วไป  นับได้ว่าการใช้เรือ  เป็นหนทางที่สะดวกที่สุดในสมัยนั้น และฤดูน้ำหลากของทุกปีหรือช่วงเทศกาลออกพรรษาทางวัดและชาวบ้านได้จัดกิจกรรมงานบุญต่างๆ อาทิ การทำบุญตักบาตร ฟังธรรมเทศนา  และพัฒนาวัด นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมการแข่งขันเรือยาว ที่รวมกลุ่มชาวบ้านจากท้องถิ่นต่าง ๆ นำเรือยาวและทีมแข่งขันที่ฝึกซ้อมกันอย่างดี  มาประชันฝีพายกันในช่วงเวลาดังกล่าว  และสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีมาจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นที่มาของการแข่งขันเรือยาวประเพณี
แข่งเรือ
การแข่งขันเรือยาวประเพณีจังหวัดสิงห์บุรี ชิงถ้วยพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  โดยจังหวัดสิงห์บุรี และเทศบาลเมืองสิงห์บุรี  ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริม  และอนุรักษ์วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม  และเกมส์กีฬาพื้นบ้านที่มีมาในอดีตให้คงอยู่คู่ท้องถิ่น  อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัด  และพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น  ภายในงานมีการแข่งขันเรือยาว 3 ประเภท คือ 1.การแข่งขันเรือยาวใหญ่ 55 ฝีพาย 2.การแข่งขันเรือยาวกลาง 40 ฝีพาย 3.การแข่งขันเรือยาวเล็ก 30 ฝีพาย วันที่ 22 – 23 ตุลาคม 2557 พร้อมทั้งผู้เข้าร่วมงานจะสนุกสนานกับการช้อปสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ รวมทั้งชมเชียร์กีฬาพื้นบ้าน และปิดท้ายอาหารสะอาดรสชาติแสนอร่อย  ซึ่งการจัดงานใช่วงเวลาดังกล่าวคาดว่าจะสามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าภายในจังหวัดสิงห์บุรีเพิ่มมากขึ้น  และเกิดการกระจายรายได้ให้กับได้อีกทางหนึ่ง

งานเทศกาลขนมเค้ก

  งานเทศกาลขนมเค้ก

งานเทศกาลขนมเค้ก จังหวัดตรังเทศกาลขนมเค้กจังหวัดตรัง มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ขนมเค้ก ซึ่งเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของจ.ตรัง ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ตลอดจนช่วยส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง จากการจัดงานติดต่อมาเป็นเวลายาวนานถึง 21 ปีชาวตรังมีชื่อเสียงในการทำขนมเค้กมาช้านาน โดยเฉพาะที่บ้านลำภูรา เป็นแหล่งผลิตขนมเค้กมาแต่ดั้งเดิม เอกลักษณ์ของขนมเค้กของชาวตรังจะไม่ใช้ครีมตกแต่งหน้าเค้ก ขนมเค้กมีหลายรส เช่น รสส้ม รสกาแฟ รสสามรส รสใบเตย รสเนย งานเทศกาลขนมเค้กจัดเป็นประจำทุกปี ช่วงเดือนสิงหาคม บริเวณถนนสถานีจังหวัดตรังร่วมกับหอการค้าจังหวัดตรัง และชมรมผู้ประกอบการขนมเค้กจังหวัดตรัง กำหนดจัดงานเทศกาลขนมเค้กจังหวัดตรัง ประจำปี 2555 ในช่วงระหว่างวันเสาร์ที่ 4 ถึงวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคมนี้ ณ บริเวณลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 เขตเทศบาลนครตรังทั้งนี้ เทศกาลขนมเค้กจังหวัดตรัง จะจัดขึ้นในเดือนสิงหาคมของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ขนมเค้ก ซึ่งเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดตรัง ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ตลอดจนช่วยส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดตรังอย่างไรก็ตาม จากการจัดงานติดต่อมาเป็นเวลายาวนานถึง 21 ปี ทำให้ประชาชนทั่วประเทศ และนักท่องเที่ยวรู้จักจังหวัดตรังมากขึ้น ขณะที่ขนมเค้กเมืองตรัง ก็ได้กลายเป็นสินค้า และของฝากที่ขึ้นชื่อของจังหวัด จนสามารถสร้างรายได้ให้อย่างงดงามสำหรับกิจกรรมในงานเทศกาลขนมเค้กจังหวัดตรัง ปี 2555 ประกอบด้วย การออกร้านจำหน่ายขนมเค้กของผู้ประกอบการในราคาพิเศษ การสาธิตการทำขนมเค้ก การจัดทำขนมเค้กพื้นเมืองยักษ์ การเดินขบวนพาเหรดแฟนซี การจำหน่ายสินค้า OTOP และการแสดงบนเวทีจากสถานศึกษาต่างๆ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ งานเทศกาลขนมเค้ก จังหวัดตรัง



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ งานเทศกาลขนมเค้ก จังหวัดตรัง

ทศกาลถือศีลกินเจ

การเตรียมตัว เทศกาลกินเจ 2559
  
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทศกาลกินเจ


สำหรับเทศกาลถือศีลกินเจปี 2559 นี้มีการจัดขึ้นระหว่างวนที่ 1-9 ตุลาคม 2559 สำหรับท่านที่กินเจอยู่ทุกปีนั้นก็คงไม่ลำบาก หรือรู้สึกทำตัวไม่ถูก และศีลขาดหรอกนะคะ แต่สำหรับมือใหม่หัดกินเจปีนี้เป็นปีแรกล่ะก็ วันนี้มีทริคเล็กๆ น้อยๆ มาฝากให้นำไปถือปฏิบัติในช่วงกินเจ 2559 ตลอด 9 วันนี้ ไม่มีความทุกข์ร้อน หรือศีลขาด ซึ่งเทศกาลกิเจนั้นมีข้อห้ามหลายอย่างที่ต้องยึดถือและปฏิบัติให้ได้ นอกจากกินงดกินเนื้อสัตว์แล้ว ได้แก่
  • ห้ามกินผักฉุนหรือผักที่มีกลิ่นแรง ที่อาจจะทำให้ร่างกายและพลังธาตุถูกทำลาย และยังทำให้ร่างกายเกิดการกระตุ้นจากรสของอาการนั้นๆด้วย ได้แก่ กระเทียม หัวหอม (ต้นหอม, ใบหอม หลักเกียว กุ้ยช่าย ใบยาสูบ (บุหรี่,ยาเส้น,ของเสพติดมึนเมา) นั้นหมายถึงว่าต้องงสูบบุหรี่และกินเหล้าในช่วงที่ถือศีล กินเจนี้ด้วย
  • ห้ามกินเนื้อสัตว์ หรืออาหารที่มีส่วนผสม ส่วนประกอบจากนั้น หรือเป็นส่วนใด ส่วนหนึ่งจากสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นไขมันสัตว์ ไข่ เลือด
  • ห้ามกินอาหารรสจัด เพราะอาหารรสจัดจะไปกระตุ้นต่อมต่างๆของร่างกายให้ทำงานมากขึ้น เป็นผลให้จิตใจไม่สงบในช่วงที่ถือศีล กินเจนี้ ที่หมายถึงทั้งหมดคือ อาหารรสจัด ทั้งเผ็ดจัด เค็มจัด หวานจัด หรือเปรี้ยวจักก็ตามที่ ดังนั้น ที่กินได้ก็คืออาหารรสจืดนั่นเอง
  • ห้ามกินอาหารที่คนปรุงไม่ได้ถือศีลกินเจ อันนี้แหละจึงทำให้คนที่ถือศีลกินเจต้องไปอยู่รวมกันในสถานที่ที่มีคนกินเจรวมกันอยู่ อาจจะเป็นโรงทาน ศาลเจ้าต่างๆที่จัดงาน เพราะคนที่ทำหน้าทำอาหารนั้น ถือศีลด้วย
  • ถ้วยชามจะต้องไม่ปนกัน
  • ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
  • แต่งกายด้วยชุดขาว
  • ห้ามพูดคำหยาบ โกหก ส่อเสียด หรือพูดจาเพ้อเจ้อ
  • ห้ามดื่มสุราและของมึนเมา ตลอดช่วงเวลา 9 วัน
  • ห้ามดับตะเกียงทั้ง 9 ดวง ในสถานที่อย่างศาลเจ้า โรงเจ โรงทาน หรือสถานที่อื่นที่จัดงานถือศีลกินเจ จะมีการจุดตะเกียง 9ดวงเอาไว้ตลอดวันตลอดคืน จึงต้องมีคนเฝ้าไม่ให้ตะเกียงนั้นดับ
อย่าลืมนะคะว่านี่คือเทศกาล “ถือศีล กินเจ” ไม่ใช่กินเจอย่างเดียว แต่ต้องถือศีลด้วย ดังนั้นสำหรับมือใหม่ที่เพิ่ง หรือกำลังคิดจะร่วมเทศกาลกินเจ 2559 นี้ หากยังถือศีลไม่ได้ ก็กินเจเพียงเดียวก็ได้ เพราะบางครั้งคุณไม่สามารถถือศีล หรือรักษาศีลได้ครบทั้ง 9 วัน อาจจะทำให้ศีลขาดได้ จะด้วยจากอาชีพที่คุณทำ หรือเหตุการณ์ประจำวันก็ดี หากต้องถือศีลกินเจแล้วทำให้คุณลำบากมากขึ้น แทนที่จะได้บุญ อาจจะได้บาปกลับมาแทน ก็งดก่อนในปีแรกก็ได้ค่ะ ปีต่อๆ ไปค่อยเริ่มถือศีลเพิ่มขึ้น ทำแล้วสบายใจนั่นแหละได้บุญค่ะ

ประเพณีไหลเรือไฟ




ประเพณีไหลเรือไฟ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม


ประเพณีไหลเรือไฟกับความเชื่อของภาคอีสาน

ประเพณีไหลเรือไฟกับความเชื่อของภาคอีสาน


ประวัติความเป็นมาของประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลายจังหวัดทางภาคอีสานที่อยู่ติดกับลำน้ำ โดยมีความเชื่อ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่สืบกันมาหลายชั่วอายุคน  แต่การเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อใดนั้น ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง แต่นิษฐานว่าน่าจะมีมาก่อนที่พระพุทธศาสนา จะเผยแพร่มาสู่ประเทศไทย เนื่องจากสมัยก่อนพระมหากษัตริย์ไทยยังยืดถือพิธีพราหมณ์อยู่

ความเชื่อในประเพณีไหลเรือไฟ

สำหรับจังหวัดต่างๆ ที่มีการจัดประเพณีไหลเรือไฟ เช่น จังหวัดศรีษะเกษ จังหวัดเลย จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย  จังหวัดอุบลราชธานี และอื่นๆ มักจะมีพิธีกรรมที่คล้ายคลึงกัน ส่วนมูลเหตุของความเชื่อนั้นมีด้วยกันหลายประการ เช่น
             เชื่อว่าเป็นการบูชาประทีปตามประเพณี  จะก่อให้เกิดอานิสงส์แก่ผู้กระทำคือ การได้ถวายพุทธบูชาด้วยประทีปโคมไฟ จะทำให้เป็นผู้มีตาทิพย์ รู้แจ้งและเกิดปัญญา สำเร็จเป็นพระอรหันต์
เชื่อว่าเป็นการบูชาพญานาค ซึ่งเป็นผู้ดูแลรักษาแม่น้ำ และช่วยคุ้มครองคนที่สัญจรทางน้ำให้มีความปลอดภัย
เชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท จากตำนานได้กล่าวมาว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปโปรดเหล่าพญานาคที่ภพนาค ก่อนเสด็จกลับ เหล่าพญานาคได้ขอให้พระพุทธองค์ทรงประทับรอยพระบาทไว้สักการะ ณ ริมฝั่งแม่น้ำ
เชื่อว่าเป็นการบูชาพระแม่โพสพ บูชาพระแม่คงคาที่ประทานความอุดมสมบูรณ์ ให้แก่เหล่ามนุษย์

เพลงชาติไทย

เชื่อว่าเป็นการบูชา วันพระเจ้าเปิดโลก ซึ่งได้ถูกกล่าวไว้ในธรรมบทว่า วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  จะเสด็จกลับไปชั้นดาวดึงส์  หลังจากสิ้นสุดการโปรดพุทธมารดา มีความเชื่อกันว่าวันนั้น สวรรค์ภูมิ มนุษย์ภูมิ นรกภูมิ จะเปิดให้เห็นกันทั่ว จึงได้เกิดประเพณีไหลเรือไฟเป็นพุทธบูชาก่อน 1 วัน ซึ่งตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
เชื่อว่าเป็นการเสดาะเคราะห์ ประเพณีไหลเรือไฟยังมีความเชื่อสืบทอดกันมาอย่างยาวนานว่าเป็นการทำให้เคราะห์กรรมต่างๆ ลอยไหลไปกับสายน้ำ เหลือแต่สิ่งดีๆ ในชีวิต

การทำเรือสำหรับประกอบพิธีไหลเรือไฟ

เรือไฟที่ใช้ในการประกอบพิธีนั้น มักประดิษฐ์มาจากต้นกล้วย หรือไม้ไผ่ต่อกันเป็นแพเรือยาว โดยสานไม่ไผ่เป็นโครงก่อน ส่วนรูปร่างนั้นทางช่างผู้ชำนาญจะเป็นผู้ออกแบบ  ด้านนอกของเรือ จะมีดอกไม้ ธูปเทียน ตะเกียง และใต้สำหรับจุดให้เกิดความสว่างไสวเพื่อเป็นพุทธบูชา ส่วนภายในเรือจะบรรจุไปด้วยขนม ข้าวต้มมัด กล้วย อ้อย หมาก พลู บุหรี่ และเครื่องไทยทานต่างๆ
สำหรับพิธีกรรมไหลเรือไฟที่ถือปฏิบัติกันมานั้น ประกอบไปด้วย การไปทำบุญตักบาตรในตอนเช้า มีการถวายภัตตาหารเพลและเลี้ยงข้าวปลาอาหารแก่ญาติโยม พอถึงช่วงบ่ายก็จะมีการละเล่นต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน เช่น การรำวงฉลองเรือไฟ จากนั้นตอนพลบค่ำก็จะนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีสวดมนต์ และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เมื่อถึงเวลาประมาณ 19-20 น. จะพิธีจุดไฟในลำเรือและปล่อยให้ล่องลอยไปตามแม่น้ำโขง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

งานเทศกาลโคมไฟไหว้พระจันทร์

งานเทศกาลโคมไฟไหว้พระจันทร์


               


       วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนอ้ายตามจันทรคติของจีนเป็นวัน"เทศกาลหยวนเซียว"ซึ่งเป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญที่มีมาแต่ดั้งเดิมของจีน และถือเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลตรุษจีน เมื่อถึงคืนวันนั้น ตามท้องที่ต่างๆของจีนต่างก็มีประเพณีแขวนโคมไฟหลากสี ด้วยเหตุนี้ เทศกาลหยวนเซียวจึงเรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่า "เทศกาลโคมไฟ" วันเทศกาลโคมไฟปีนี้ตรงกับวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ตามคริสต์ศักราช การเที่ยวชมโคมไฟและการรับประทานขนม"หยวนเซียว"นั้นเป็นเอกลักษณ์สำคัญสองประการในวันเทศกาลหยวนเซียว เทศกาลหยวนเซียวนี้ได้ถูกกำหนดให้เป็นเทศกาลสำคัญแห่งชาติอย่างเป็นทางการ ข้อกำหนดนี้ได้ทำให้เทศกาลหยวนเซียวมีความหมายที่กว้างขวางยิ่งขึ้น ตามกำหนดการ เมื่อถึงวันนั้น ตามสถานที่สาธารณะและทุกๆครอบครัวต่างก็ต้องจะแขวนโคมไฟหลากสีสันประดับประดาอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะตามถนนหนทางที่เจริญและคึกคักและศูนย์วัฒนธรรมต่างๆ

       กิจกรรมในประเทศไทย   มีการจัด เทศกาลโคมไฟไหว้พระจันทร์ที่จังหวัดสงขลา บริเวณเขตเทศบาล อำเภอหาดใหญ่ โดยมีการจัดกิจกรรมภายในงานเทศกาลโคมไฟไหว้พระจันทร์ มีขบวนแห่ประเพณีไหว้พระจันทร์ การตั้งโต๊ะ และการจัดโคมไฟไหว้พระจันทร์สลักน้ำแข็ง นอกจากนั้นในแต่ละบ้าน ร้านค้า โรงแรม ธนาคาร ศูนย์การค้าต่างๆ สมาคมและมูลนิธิ ติดตั้งโคมไฟและตั้งโต๊ะไหว้พระจันทร์ ส่วนในตอนกลางคืนมีการแห่โคมไฟที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ตลอดจนทำพิธีไหว้พระจันทร์ด้วย

จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือนสิบ บริเวณศาลเจ้าซาเจียงกุล วัดหงษ์ประดิษฐ์ อ.หาดใหญ่ ภายในงานมีขบวนแห่โคมไฟและมหรสพจีน ขบวนมังกร เชิดสิงโต ชมโคมไฟยักษ์และการประกวดโคมไฟตามบ้านเรือนราษฎร


ข้อดีข้อเสียของการกินเจ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้อดีข้อเสียของการกินเจ

เรามีหลายคนเชื่อว่าการกินเจ - เกิดปมด้อยในอาหารของสารอาหารที่จำเป็นและอาหารที่ไม่น่ากิน
ต่างประเทศเป็นอาหารมังสวิรัติพบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันและรักษาโรคบางชนิดแต่แฟชั่นสำหรับชีวิตสุขภาพ ความสนใจที่เพิ่มขึ้นกับระบบจ่ายไฟหลังจาก Vegetus ละติน - บานสุขภาพความนิยมที่เพิ่มขึ้นของระบบไฟฟ้าในยุโรปและอเมริกากล่าวว่ามังสวิรัติและร้านอาหารมากมาย
พยายามที่จะเข้าใจในสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการกินเจข้อดีและข้อเสียของแหล่งจ่ายไฟระบบอะไรคือเหตุผลหลักสำหรับความล้มเหลวที่เกิดขึ้นในเนื้อสัตว์และปลา?ยึดมั่นในหลักการของการกินเจสามารถช่วย:
• ป่วยน้อยลงและกำจัดโรคเรื้อรัง - การปฏิเสธของอาหารเนื้อสัตว์ไขมัน normalizes การเผาผลาญอาหารเป็นผลมาจากการเปิดใช้งานการป้องกันตัวเองอาหารมังสวิรัติเป็นสิ่งที่ดีป้องกันคอเลสเตอรอลสูงและดังนั้นจึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนอกจากนี้การกำจัดน้ำหนักส่วนเกินในตัวเองลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ
•เพิ่มระยะเวลาของการมีอายุยืนยาว ใช้งาน - มังสวิรัติจำนวนมากในหมู่ centenarians เรื่องร่างกายที่จะรับประทานอาหารนี้ไม่ได้เต็มไปด้วยโปรตีนที่หนักและอาหารที่มีไขมันและดังนั้นจึง
• มังสวิรัติและการลดน้ำหนัก - อาหารมังสวิรัติมีแคลอรี่น้อยลงและไขมันใช้เก​​ลือน้อยไม่เก็บของเหลวในร่างกายอาหารที่มีเส้นใยพืชซึ่งจะช่วยป้องกันอาการท้องผูก
อะไรคือข้อดีของการกินเจหรือไม่•เนื้อรับประทานอาหารที่คงที่ทำให้เกิดความเป็นพิษของผลิตภัณฑ์การสลายตัวของร่างกายของโปรตีนและถ้าเราพัฒนาท้องผูกในลำไส้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องของการสลายตัวที่เป็นพิษทั้งร่างกายนี่คือความจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อยู่ประจำและผู้สูงอายุ
•ใช้อย่างต่อเนื่องของการรับประทานอาหารเนื้อกะสมดุลกรดด่างในร่างกาย "เป​​รี้ยว" ด้านซึ่งในตัวเองสามารถนำไปสู่​​การพัฒนาของโรคบางอย่าง (diathesis โรคเกาต์)
•«กินเนื้อสัตว์ "การบริโภคเกลือมากขึ้นซึ่งยังสามารถทำให้เกิดโรค
•เนื้อสัตว์ที่มีการนำเข้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เราได้รับฮอร์โมนและยาปฏิชีวนะที่มีสัตว์เลี้ยง
เสนอของการกินเจกล่าวว่าความต้องการเนื้อสัตว์ไม่ได้อธิบายโดยการปรากฏตัวในนั้นของสารที่มีประโยชน์มากมายและผลกระตุ้นต่อระบบประสาทของสารแทรกไนโตรเจนนั่นคือเสพติดเนื้อของธรรมชาติเช่นเดียวกับการติดยาเสพติดชากาแฟที่แข็งแกร่งและการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ดังนั้นคนที่เลือกที่จะไปรับประทานอาหารมังสวิรัติในเดือนแรกหรือสองจะต้อง "สู้" ด้วยความปรารถนาที่จะกินเนื้อสัตว์
ผู้ที่เลือกมังสวิรัติลองตลอดเพื่อรักษาชีวิตสุขภาพจึงยังแนะนำ:
•เกลือทั่วไปจะถูกแทนที่ด้วยทะเลและเพื่อลดปริมาณของมันหรือแทนที่ด้วยรสของกระเทียมบดหัวไชเท้าขูดและพืชชนิดหนึ่งน้ำมะนาว
•แทนที่น้ำตาลน้ำผึ้งและขนม - ผลไม้แห้ง
•เครื่องชงกาแฟเครื่องดื่มกาแฟแทนธรรมชาติจากสีน้ำเงินข้าวบาร์เลย์ข้าวไรย์และข้าวโอ๊ต
•แทนการดื่มชาดำหรือสีเขียวสมุนไพร

จุดด้อยมังสวิรัติ

ทราบเพียงแค่ข้อเสียเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับ "บริสุทธิ์" มังสวิรัติ, ที่อยู่, คนที่ไม่กินเนื้อสัตว์และปลานอกเหนือไปจากผลิตภัณฑ์มากขึ้นและนมและไข่

    โภชนาการเตือนว่าการกินเจ - การปรับปรุงอาหาร แต่ก็ยังไม่เพียงพอ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับหนุ่มสาวที่มีชีวิตและการเจริญเติบโต) วิตามิน (B2, B12, D) เช่นเดียวกับธาตุเหล็กแคลเซียมและสังกะสีการขาดสารอาหารนอกจากนี้ยังสามารถนำไปสู่​​โรค
ผลกระทบเชิงลบของการรับประทานอาหารดังกล่าวระหว่างการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตที่ (สำหรับเด็กวัยรุ่นหญิงตั้งครรภ์) จะเห็นได้ชัด
    เด็กมังสวิรัติมากที่สุดของความล่าช้าเวลาในการพัฒนาทางกายภาพของเพื่อนของพวกเขามีระดับที่ต่ำกว่าของฮีโมโกลที่ร่างกายจะอ่อนแอมากขึ้นต่อการติดเชื้อ
สมาคมโภชนาการอเมริกันเห็นว่าหากพวกเขาต้องการการเปลี่ยนไปกินเจ:
สมมติเสริมวิตามินและเกลือแร่, การกินเจเป็นหนึ่งในวิธีการที่จะป้องกันไม่ให้หลอดเลือดความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและโรคอื่น ๆเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
หัวข้อ:
อาหารมังสวิรัติ
ที่เป็นประโยชน์หรือเป็นอันตรายอาหารอาหารดิบ?


เทศกาลหมูย่างเมืองตรัง

เทศกาลหมูย่างเมืองตรัง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทศกาลหมูย่างเมืองตรัง จังหวัดตรัง

งานเทศกาลหมูย่างจังหวัดตรัง จังหวัดตรังงานเทศกาลหมูย่างจังหวัดตรัง จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจ.ตรัง ภายในงานมีหมูย่างสูตรพิเศษของเมืองตรังจากร้านต่างๆในจังหวัด มาร่วมออกร้าน ณ บริเวณสี่แยกธรรมรินทร์ บนถนนสถานีและมีการจัดขบวนแห่ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี“ตรัง” ได้ชื่อว่าเป็น “เมืองของคนช่างกิน” เนื่องจากมีอาหารอร่อยขึ้นชื่อมากมาย โดยหนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงก็คือ หมูย่างของชาวตรัง ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะที่ตกทอดมากว่า 100 ปี โดยหอการค้าจังหวัดตรัง เล็งเห็นว่าหมูย่างของจังหวัดตรังนั้นถือเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์อันสำคัญอย่างหนึ่งของชาวตรัง หากได้รับการสนับสนุนและประชาสัมพันธ์อย่างดีแล้ว จะสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ขณะเดียวกันก็สามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อนำรายได้เข้าสู่จังหวัดตรัง อีกทางหนึ่งดังนั้น หอการค้าจังหวัดตรังจึงได้ริเริ่มจัดเทศกาลหมูย่างเมืองตรังขึ้นเป็นครั้ง แรกเมื่อปี 2533 โดยจัดในวันอาทิตย์ของสัปดาห์แรกในเดือนกันยายนของทุกปี ติดต่อกันมาถึงปีที่ 22 ในครั้งนี้ ทำให้หมูย่างของจังหวัดตรังเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ และกลายเป็นของที่ระลึกที่ผู้มาเยือนจังหวัดตรังซื้อหากลับไปเป็นของฝากซึ่งเทศกาลหมูย่างเมืองตรัง จัดขึ้นในช่วงประมาณ เดือนกันยายนของทุกปี ถือเป็นหนึ่งกิจกรรมสำคัญของงาน โดยมีร้านค้าหมูย่างจากทั่วเมืองตรัง มาร่วมออกบูธมากมาย พร้อมทั้งการจำหน่ายสินค้า OTOP ของจังหวัดตรัง, การจัดขบวนพาเหรดแฟนซีที่สวยงามแฝงแง่คิดเพื่อประชาสัมพันธ์งานรอบตลาด เทศบาลนครตรัง โดยได้รับความร่วมมือจากสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา, การประกวดตกแต่งจานหมูย่าง โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ศูนย์ตรัง และชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารจังหวัดตรัง รวมทั้งรับชมการแสดงจากดาราและนักแสดงที่มีชื่อเสียง และโชว์ศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เป็นต้น


งานประเพณีการละเล่นผีตาโขน

ประเพณีแห่ผีตาโขนจัดเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่หรือที่เรียกว่า "งานบุญหลวง" หรือ "บุญผะเหวด" ซึ่งตรงกับเดือน 7 มีขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และจัดเป็นการละเล่นที่ถือเป็นประเพณีทุกปี เกี่ยวโยงกับงานบุญพระเวสหรือเทศน์ มหาชาติ ประจำปีกับพระธาตุศรีสองรัก ปูชนียสถานสำคัญของชาวด่านซ้าย เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่มีชื่อเสียงและขึ้นชื่อของจังหวัดเลย โดยมีกระบวนแห่ผีตาโขนโดยแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ที่เป็นเอกลักษณ์มีลวดลายที่งดงามแตกต่างกันไป แสดงการละเล่นเต้นรำกันอย่างสนุกสนานในขบวนแห่งที่แห่ยาวไปตามท้องถนน 
กล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่ากลับสู่เมือง บรรดา ผีป่าหลายตน และสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสอง พระองค์ กลับ เมือง "ผีตามคน" หรือ "ผีตาขน" จนกลายมาเป็น "ผีตาโขน" อย่างในปัจจุบัน
ชนิดของผีตาโขน
ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ชนิดคือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก
ผีตาโขนใหญ่ ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่าประดับตกแต่งรูปร่าง
ผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนเล็กเป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงชาย มีสิทธิ์ทำ และเข้าร่วมสนุก ได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน
การแต่งกายผีตาโขน 
ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ ทำจากกาบมะพร้าวแกะสลักและสวมศีรษะด้วย
การละเล่นผีตาโขน
เนื่องจากงานประเพณีผีตาโขนเป็นงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกกันว่างานบุญหลวง จัดขึ้นที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย โดยมี การละเล่นผีตาโขน มีการเทศน์มหาชาติมีการทำบุญพระธาตุศรีสองรักและงานบุญต่างๆเข้ามาผสมอยู่รวมๆกัน จึงมีการจัดงานกัน 3 วัน 
วันแรก เริ่มพิธีตอนเช้า 04.00-05.00 น. คณะแสนหรือข้าทาสบริวารของเจ้าพ่อกวนจะนำอุปกรณ์ มีด ดาบ หอก ฉัตร พานดอกไม้ ธูปเทียน ขันห้าขันแปด(พานดอกไม้ 5 คู่ หรือ 8 คู่) ถือเดินนำขบวนไปที่ริมแม่น้ำหมัน เพื่อนิมนต์พระอุปคุตต์ พระผู้มีฤทธานุภาพมาก และมักเนรมิตกายอยู่ในมหาสมุทร เพื่อป้องกันภัยอันตราย และให้ เกิดความสุข สวัสดี เมื่อถึงแล้วผู้อันเชิญต้องกล่าวพระคาถา และให้อีกคนลงไปในน้ำงมก้อนหินใต้น้ำขึ้นมาถาม ว่า "ใช่พระอุปคุตต์หรือไม่" ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งตอบว่า "ไม่ใช่" พอก้อนหินก้อนที่ 3 ให้ตอบว่า "ใช่ นั่นแหละ พระอุปคุตต์ที่แท้จริง" เมื่อได้พระอุปคุตต์มาแล้ว ก็นำใส่พานแล้วนำขบวนกลับที่หอพระอุปคุตต์ ทำการ ทักขิณาวัฏ 3 รอบ มีการยิงปืนและจุดประทัดซึ่งช่วงเวลานั้นบรรดาผีตาโขนที่นอนหลับหรือ อยู่ตามที่ต่างๆก็จะมาร่วมขบวนด้วย ความยินดีปรีดา เต้นรำ เข้าจังหวะกับเสียงหมากกระแร่ง ซึ่งเป็นกระดิ่งผูกคอวัวหรือกระดิ่งให้เสียงดัง 
วันที่สอง เป็นพิธีแห่พระเวส ในขบวนประกอบด้วย พระพุทธรูป 1 องค์ พระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่หามตามด้วย เจ้าพ่อกวนนั่งอยู่บน กระบอกบั้งไฟ ท้ายขบวนเป็นเจ้าแม่นางเทียม กับบริวาร ชาวบ้าน และเหล่าผีตาโขน เดินตามเสด็จไปรอบ เมือง ก่อนตะวันตกดิน สำหรับคนที่เล่นเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนใหญ่ออก ให้หมดและนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไป รอจนปีหน้าฟ้าใหม่ แล้วค่อยทำเล่นกันใหม่ 
- วันที่สาม เป็นการรวมเอางานบุญประเพณีประจำเดือนต่างๆของปีมารวมกันจัดในงานบุญหลวง ประชาชนจะมานั่งฟังเทศน์ มหาชาติ 13 กัณฑ์ ที่วัดโพนชัยเพื่อเป็นการสร้างกุศลและเป็นมงคลแก่ชีวิตแก่ชีวิต
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ งานประเพณีการละเล่นผีตาโขน จังหวัดเลย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ งานประเพณีการละเล่นผีตาโขน จังหวัดเลย

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ประเพณีวิ่งควาย


ประเพณีวิ่งควาย  จังหวัดชลบุรี

ประเพณีวิ่งควาย จังหวัดชลบุรี

ประเพณีวิ่งควาย  จังหวัดชลบุรี
          “ลานกว้าง  คือสนามประลองเจ้าแห่งความเร็วของเจ้าทุยเพื่อนรัก  สัตว์เลี้ยงคู่ใจชาวนาไทยครั้งอดีต  ที่ต่างวางคันไถ  ออกจากท้องนาขึ้นมาช่วงชิงชัยชนะในสนามการแข่งขันวิ่งควาย  ประเพณีที่สร้างความคึกคักเร้าใจ  ได้ทุกช่วงวินาทีที่ผู้บังคับประสานเป็นหนึ่งกับเจ้าทุย  ขับเคี่ยวกับคู่แข่งที่ขนาบทั้งซ้ายขวา  มุ่งหน้าเข้าสู่เส้นชัย  เพียงช่วงเวลาไม่กี่นาที”
ใกล้เข้าสู่เทศกาลออกพรรษา  ผ่านพ้นช่วงการไถหว่านของชาวนาที่มีควายไทยเป็นแรงงานหลักในการไถแปลงนาให้พร้อมสำหรับการเพาะปลูกข้าว  เมื่อทำงานหนักเสร็จสิ้นก็ได้เวลาในการพัก  แต่ระหว่างที่รอการเก็บเกี่ยวผลผลิต  ช่วงนี้เองที่ชาวนาจะได้มีโอกาสนำผลผลิตจากฤดูก่อนหน้ามาค้าขาย  แลกเปลี่ยนกันในตลาด  บางคนใช้ควายเป็นพาหนะขนของ  ยางคนก็แต่งองค์ทรงเครื่องให้ควายของตนสวยงาม  จนเมื่อเสร็จสิ้นการพบปะพูดคุย  จึงชักชวนกันนำควายของตนมาวิ่งแข่งขันกัน  จนกลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบเนื่องมาจวบจนปัจจุบัน
เพลงชาติไทย
ประเพณีวิ่งควายจัดขึ้นทั่วไปตามชุมชนต่างๆ เริ่มตั้งแต่เขตเทศบาลเมืองชลบุรี  จัดขึ้นในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑  อำเภอบ้านบึง  จัดขึ้นในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑  ตลาดหนองเขิน  อำเภอบ้านบึง  จัดขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ วัดดอนกลาง  ตำบลแสนสุข  อำเภอเมือง  จัดขึ้นในวันทอดกฐินประจำปีของวัด  ซึ่งคุณสามารถเดินทางเข้ามาชมประเพณีนี้ได้ตามช่วงเวลาต่างๆ  ซึ่งแต่ละสถานที่ล้วนมากด้วยสีสัน  รวมทั้งความตื่นเต้นในการลุ้นว่าใครที่จะเป็นเจ้าแห่งความเร็วของประเพณีวิ่งควาย
ในปัจจุบัน  นอกจากชาวบ้านต่างเข้าชิงชัยในสนามแข่งขันประเพณีวิ่งควาย  และประดับประดาควายของตนด้วยผ้า  และแต่งแต้มสีสันสร้างลวดลายให้สวยงามแล้ว  ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่สร้างความสนุกสนาน  และแฝงไปด้วยสาระ  เริ่มต้นตรวจดูความแข็งแรงของควายในการประกวดสุขภาพ  สร้างขวัญและกำลังใจแก่คนและควายในพิธีสู่ขวัญควายตามแบบพิธีกรรมดั้งเดิม  อันเป็นการแสดงถึงความผูกพันระหว่างชาวนาและสัตว์เลี้ยงคู่ใจ  ถึงแม้ความสำคัญของควายไทยจะลดบทบาทลงไปมาก  แต่ชาวชลบุรีก็ยังสืบสานงานประเพณีวิ่งควายให้คงอยู่จนกลายเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น  หนึ่งเดียวในประเทศไทย
          –   วันเวลาการจัดงาน : ตั้งแต่วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑  หรือก่อนออกพรรษา ๑ วัน  เรื่อยไป
          –   สถานที่จัดงาน : เทศบาลเมืองชลบุรี,  ตลาดหนองเขิน  อำเภอบ้านบึง,  วัดดอนกลาง  ตำบลแสนสุข

งานฉลองมรดกโลกบ้านเชียง


อุดรฯฉลอง 50 ปี ค้นพบแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เปิดโฮมสเตย์รับเที่ยวงานช่วงกลางคืน


นายเศวตฉัตร บรรเทาทุกข์ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านเชียง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ระหว่างวันที่ 12-14 กุมภาพันธ์ 2559 มีกำหนดจัดงานเฉลิมฉลองมรดกโลกบ้านเชียง ประจำปี 2559 ณ ลานวัฒนธรรม และบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ซึ่งปีนี้มีความพิเศษคือ เป็นการฉลองการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกครบ 50 ปี เปิดชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงและหลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีในฟรี
โดยชูไฮไลต์กิจกรรม 7 Amazing ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุดรธานี ได้แก่ 1.ชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง 2.ชมหลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน 3.ชมการทดลองปั้นหม้อเขียนไหบ้านเชียง 4.ชมการตีเหล็กยุคโบราณ 5.ชมการแสดงบ้านไทพวนรับเสด็จ 6.ชมการแสดงของกลุ่มทอผ้า 7.ชมอนุสาวรีย์ปู่ขุนเชียงสวัสดิ์
นอกจากนั้น ยังมีพิธีบวงสรวงบรรพบุรุษชาวบ้านเชียงที่วัดโพธิ์ศรีใน, การบวงสรวงปู่ขุนเชียงสวัสดิ์ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง, ชมขบวนแห่งวิถีชีวิตวัฒนธรรมประเพณีไทพวนบ้านเชียง การแสดงแสงสีเสียงและม่านน้ำ การจดทะเบียนสมรสหมู่คู่รักแบบยั่งยืน 5,000 ปี  การแสดงจากหลวงพระบาง สปป.ลาว และการประกวดต่าง ๆ อาทิ ผลิต   ภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง, วงโปงลางนักเรียน, หมอลำกลอนเยาวชน และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย โดยนักท่องเที่ยวสามารถมาเที่ยวงานได้ภาคกลางวันและภาคกลางคืน ซึ่งทางเทศบาลตำบลบ้านเชียงมีบริการโฮมสเตย์สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวด้วย

 
 
ทั้งนี้ แหล่งมรดกโลกบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จากหลักฐานต่าง ๆ พบว่าบ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุราว 5,600-1,800 ปี โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้จดทะเบียนให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นมรดก
โลกทางประวัติศาสตร์เมื่อเดือนธันวาคม 2535

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ งานฉลองมรดกโลกบ้านเชียง 5,000 ปี จังหวัดอุดรธานี

 

งานประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง

sartthai
ประเพณีสารทไทย (ในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐  ) เป็นช่วงเวลาที่ชาวพุทธเข้าวัดทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งตามความเชื่อของคนโบราณจะต้องมีขนมหวานที่ชื่อ กระยาสารทเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ในเทศกาลดังกล่าวกระยาสารท เป็นชื่อขนมหวานของไทยชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล  ชื่อของกระยาสารท แปลได้ว่า อาหารที่ทำขึ้นในฤดูสารท  ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว นำมาผัดกับน้ำตาลจนเหนียว เป็นขนมหวานที่นิยมทำในช่วงสารทไทย หรือในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐  เพื่อเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วส่วนคำว่า สารท หมายถึง ฤดูกาลแห่งการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหาร ซึ่งจะอยู่ในช่วงปลายฤดูฝนเริ่มย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ตามความเชื่อของคนโบราณ เมื่อเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหารในคราวแรกแล้ว พืชพันธุ์ธัญญาหารที่เก็บเกี่ยวได้ในครั้งแรก จะนำไปบรวงสรวง บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือจะช่วยให้เกิดสิริมงคลกับชีวิตและเรือกสวนไร่นาของตนทั่วแทบทุกภูมิภาคของไทยจะมีการจัดงานทำบุญวันสารทไทยเหมือนๆ กัน แต่ต่างกันที่ชื่อเรียก เช่น ภาคใต้จะเรียกประเพณีนี้ ประเพณีชิงเปรต  ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะจัดชื่องานทำบุญข้าวสาก  ส่วนภาคเหนือจะเรียกกันว่า ตานก๋วยสลาก และที่เป็นงานประเพณีที่มีชื่อเสียงอีกงานหนึ่ง คือ งานประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง ที่นำเอากล้วยไข่ ของดีประจำจังหวัดที่จะให้ผลผลิตในช่วงเวลาดังกล่าวมาจับคู่กับกระยาสารท และรสชาติของกกล้วยไข่ก็ช่วยให้รสชาติของกระยาสารทกลมกล่อมยิ่งขึ้นงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงในงานประกอบด้วยการทำบุญการทำบุญตักบาตร การประกวดขบวนรถที่ตกแต่งด้วยกล้วยไข่เป็นหลัก ประกวดธิดากล้วยไข่, การประกวดกล้วยไข่, การจำหน่ายกล้วยไข่, การแข่งกวนกระยาสารทในอดีตตามธรรมเนียมเมื่อถึงเทศกาลทำบุญสารทไทย ชาวบ้านจะกวนกระยาสารทขึ้นเพื่อนำไปทำบุญที่วัด แบ่งไปมอบให้แก่ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ หรือแลกเปลี่ยนกันเพื่อเป็นการประชันฝีมือการกวนกระยาสารทของแต่ละบ้าน แต่ปัจจุบันด้วยความเร่งรีบธรรมเนียมการกวนกระยาสารทในบ้านก็เริ่มหายไป เนื่องจากมีขั้นตอนกระบวนการและระยะเวลาการกวนที่ยาวนาน ผู้คนจึงหันไปหาซื้อจากร้านค้าที่กวนกระยาสารทนำไปทำบุญหรือมอบให้แก่กันแทน